ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถในตนเอง ด้วยการจัดการเรียนรู้เน้นประสบการณ์ที่มีต่อพฤติกรรม การกล้าแสดงออกของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้เน้นประสบการณ์ , การรับรู้ความสามารถในตนเอง , พฤติกรรมการกล้าแสดงออก, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ด้านพฤติกรรมการกล้าแสดงออกระหว่างนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่เข้าร่วมโปรแกรมและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมการกล้าแสดงออกระหว่างก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและหลังเข้าร่วมโปรแกรมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่เข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามพฤติกรรมการกล้าแสดงออก และโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถในตนเองด้วยการจัด การเรียนรู้เน้นประสบการณ์ที่มีต่อพฤติกรรมการกล้าแสดงออก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน สถิติในการทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม (เป็นอิสระจากกัน) และ สถิติในการทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยของประชากรแบบจับคู่
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่เข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมการกล้าแสดงออกสูงกว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่เข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมการกล้าแสดงออกหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กันตาภา สุทธิอาจ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จุฬาลักษณ์ เขียนทะการ. (2559). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้านการกล้าแสดงออกต่อพฤติกรรมกล้าแสดงออกของผู้ป่วยเสพติดสุรา. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากิจกรรมบำบัด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรังปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิริยะ ผดาศณี, ปริญญา เรืองทิพย์ และกนก พานทอง (2560). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(3): 79-94
ศศิวิมล คงสุวรรณ และเบญจมาภรณ์ ฤาไชย. (2563). การเรียนการสอนสำหรับคนหูหนวกในประเทศไทย สภาพปัญหา รูปแบบ และกระบวนการสอนแบบสองภาษา. วารสารมังรายสาร สถาบันภาษา และวัฒนธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 8(1): 1-14.
สิรินารถ ศรีอนันต์. (2559). การใช้การเรียนรู้ภาษาแบบประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษ และความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้ (การสอนภาษาอังกฤษ).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อนุชา ภูมิสิทธิพร. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ (การศึกษาพิเศษ) มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ.
Kolb, D. A. (1984). Experiential Learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 นันทิยา พวงทอง, พิชชาดา ประสิทธิโชค, นฤมล พระใหญ่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์