ผลการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • จิดาภา คงประดิษฐ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • เมษา นวลศรี สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • อรสา จรูญธรรม สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

เกมมิฟิเคชั่น, เทคนิค STAD, ความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ เกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสิงห์บุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน โดยใช้สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 8 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.82, S.D. = .31) (2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน เพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .75 และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อ การจัดการเรียนการสอน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว
ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD สูงกว่า ก่อนได้รับการจัดการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 21.21, p = .001) (2) ความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (M = 23.83 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน, S.D. = 2.02, t = 8.83, p = .001) และ (3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับเทคนิค STAD มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.52, S.D. = .69)

References

เกศนีย์ มากช่วย. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษผ่านการเรียน อิเล็กทรอนิกส์และการแพร่ภาพกระจายเสียงสดออนไลน์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. 3(3): 2-18.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ขวัญเกล้า ศรีโสภา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู. วารสารวิชาการ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 9(2): 93-106.

ชนัตถ์ พูนเดช. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิด เกมมิฟิเคชัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(3): 331-339.

ณัฐพงศ์ มีใจธรรม. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน (GAMIFICATION) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(2): 76-90.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน. องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2559). การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในสามจังหวัดชายแดนใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). (ดำเนินโครงการวิจัยในสามจังหวัดชายแดนใต้).

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพครั้งที่ 3). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรี รื่นนาค วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์ และ สำราญ กำจัดภัย. (2563). การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน. 14(39): 59-67.

วรพงษ์ แสงประเสริฐ. (2562). ผลการสอนการอ่านโดยใช้เกมมิฟิเคชันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและเจตคติที่มีต่อการสอนอ่านของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย. [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ.

วรางคณา แสงธิป. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชันร่วมกับวิธีการสอนแบบเน้นภาระงาน เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและแรงจูงใจในการเรียน ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2564). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้น ม.3 ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบฯ.

สมสวาท โพธิ์กฎ. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง. (2565ก). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2565. สิงห์บุรี: สพม.สิงห์บุรี อ่างทอง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง. (2566ข). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566. สิงห์บุรี: สพม.สิงห์บุรี อ่างทอง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2552). สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการ สก.สค.

สุวพัชร ทองดอนง้าว, ภูวดล สุขเกษม และอานันต์ ปิยะศีล. (2566). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD (Student Teams Achievement Divisions) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม. [รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3].

หงส์ทอง วาทโยธา (2550). การเปรียบเทยบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน และร้อยละโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ STAD กับการสอนปกติ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 และความพึงพอใจของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค การสอนแบบ STAD กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาคานหักประชานุสรณ์ อําเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ].

Best & Kahn. (1993). Research in Education. (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Kapp, K. M., Lee, J. J., & Hammer, J. (2014). Gamification in Education: What, How Why Bother?, Academic Exchange Quarterly. New York: Columbia University.

Yanes, N. & Bououd, I. (2019). Using Gamification and Serious Games for English Language Learning. Retrieved September 20, 2020

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-07-2024