การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เยาวชนรักษ์น้ำ เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • พรภิรมย์ หลงทรัพย์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พิริยพงศ์ จำปีทอง สาขาการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • รสริน เจิมไธสง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ความสามารถการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เยาวชนรักษ์น้ำ 2) พัฒนาและทดลองใช้ชุดกิจกรรม 3) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 4) เปรียบเทียบความสามารถการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม และ 5) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาริกา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.50-1.00 ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.05/81.35 คู่มือครู มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.50-1.00 แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.50-1.00 ความยากง่ายตั้งแต่ 0.20-0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.39-0.65 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 ความยากง่ายตั้งแต่ 0.20-0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.39-0.65 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และสถิติทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) จากข้อมูลพื้นฐานและความต้องการพัฒนาชุดกิจกรรม มีการนำแหล่งน้ำในท้องถิ่นมาจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เยาวชนรักษ์น้ำ ประกอบด้วย ชื่อชุดกิจกิจกรรม คำนำ คำแนะนำ คู่มือครู บทบาทครู บทบาทนักเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ใบความรู้และใบกิจกรรม 3) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม เท่ากับ 82.05/81.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 4) ความสามารถการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Author Biography

พรภิรมย์ หลงทรัพย์, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

-

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545 และ (ฉบับที่3) พุทธศักราช 2553. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://regu.tu.ac.th/quesdata/Data/L31.pdf. (2565, 20 มีนาคม).

จิราวรรณ สอนสวัสดิ์. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนวุฒิ มากเจริญ. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง เยาวชนพิทักษ์เขื่อนขุนด่านปราการชลที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยะวรรณ ช่างทอง. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ (ป่าชายเลน) เพื่อเสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภาณุวัฒน์ เปรมปรี. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบนิเวศน้ำจืด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประเทียบวิทยาทาน จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่านและคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสพับลิเคชั่น จำกัด.

สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.onep.go.th/publication-soe/. (2565, 20 มีนาคม).

สุคนธ์ สินธพานนท์ วรรัตน์ วรรณเลิศ และพรรณี สินธพานนท์. (2552). พัฒนาทักษะการคิดพิชิตการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธิดา การีมี. (2561). สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://emagazine.ipst.ac.th/210/index.html#1/z. (2565, 26 มีนาคม).

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2553). ครบเครื่องเรื่องการคิด กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

อัจฉรียา สิงห์แก้ว. (2560). การใช้ชุดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง รอบรู้วัสดุสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Gagne, R. M. (1970). The condition of Learning. (2nd ed). New York: Holy, Rinehart And Winstin, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-07-2024