การศึกษาการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคอัลฟ่า

ผู้แต่ง

  • คันธรส ภาผล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมของครูปฐมวัย, สุขภาวะ, ความปลอดภัย, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคอัลฟ่า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคอัลฟ่า 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม 2) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม 3) ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะและ ความปลอดภัย 4) ด้านการประเมินพฤติกรรมสุขภาวะและความปลอดภัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี เขต 2 จำนวน 120 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.87 ทั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากผลการวิจัยพบว่า ครูปฐมวัยมีการจัดกิจกรรมของครูปฐมวัยที่ส่งเสริมสุขภาวะและความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.15, S.D. = 0.93) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.62, S.D. = 0.60) ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะและความปลอดภัย ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (M = 4.60, S.D. = 0.63) ด้านการสังเกตวัดประเมินพฤติกรรมสุขภาวะและความปลอดภัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.20, S.D. = 1.08) และด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.19, S.D. = 1.42) ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็ก อายุ 3 - 6 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กรมอนามัย. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กรมอนามัย. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://planning.anamai.moph.go.th/th/strategy-plan/4229#wow-book/15. (2566, 10 สิงหาคม).

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อเด็กไทยสุขภาพดี. นนทบุรี: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

จิราวรรณ สาคร และศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (2563). สภาพและปัญหาในการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนละอออุทิศ. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 16(2): 155 - 172.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เปมิกา ไทยชัยภูมิ. (2561). การศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งชาติ. (2554). คู่มือการดำเนินงานตามมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยากรวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม = Classical test theory. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็ก ปฐมวัยด้านสุขภาพ (4D) ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2567). สุขภาวะและสภาพแวดล้อมต่อการเรียนรู้ของเด็ก. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/get- to-know-thaihealth/contact-thaihealth/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). รายงานประจำปี 2556 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากับเส้นทางพัฒนาการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2556). แนวทางการด่าเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก ในศูนย์เด็กเล็ก. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Kaemkate, W. (2012). Behavioral research science methodology. (3rd ed.). Bangkok: The Publisher of Chulalongkorn University.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological Measurement. 10(11): 607-610.

Missouri Department of Elementary and Secondary Education. (2009). Missouri pre-k physical development, Health and Safety Standards. Retriever form https://dese.mo.gov/childhood/child-care/forms.

Nunnally, J. C. (1967). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Thorndike, R. M. (1991). Measurement and Evaluation in Psychology and Education. New York: Macmillan.

Wiersma, W. & Jurs, S. G. (2005). Research methods in education: An introduction. (8th ed). Massachusetts: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-08-2024