การสร้างสรรค์ลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อการแสดงดนตรีสนาม

ผู้แต่ง

  • ประพันธ์ศักดิ์ ปานเสียง ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศรัณย์ นักรบ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์, ลีลาการเคลื่อนไหวร่างกาย, ดนตรีสนาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพื้นฐานการเคลื่อนไหวร่างกายตามแนวทาง ของการเต้นบัลเลต์ และ 2) สร้างสรรค์ลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายให้เหมาะสมกับบทเพลงสำหรับ การแสดงดนตรีสนาม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาพื้นฐานการเคลื่อนไหวร่างกายตามแนวทางของ การเต้นบัลเลต์ ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักวิธีการของสถาบันบัลเลต์ Royal Academy of Dance ประเทศอังกฤษ โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกท่าพื้นฐานทั้งหมด 6 ท่าที่เหมาะสำหรับนักดนตรีที่ต้องถือเครื่องดนตรีเพื่อบรรเลงพร้อมกับทำท่าเคลื่อนไหวต่าง ๆ โดยท่าพื้นฐานดังกล่าวเน้นการใช้การเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนของขาและเท้าเป็นหลัก ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพเสียง และช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพ ในระหว่างแสดงให้กับนักดนตรี และ 2) การสร้างสรรค์ลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายให้เหมาะสมกับ บทเพลงสำหรับการแสดงดนตรีสนาม การวิเคราะห์บทเพลง Vimaya Deva พบว่า ในตอนย่อยที่ 4 ของบทเพลงมีทำนองดนตรีอีสานเด่นชัดมากในท่อนนี้ ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการสร้างสรรค์ท่า ด้วยการเลียนแบบท่าเซิ้ง โดยการชี้ปลายเท้ามาด้านหน้าในลักษณะเหยียดขาตรงแล้วขยับสะโพก ขึ้นลงตามจังหวะเพลง ซึ่งสอดคล้องกับพื้นฐานบัลเลต์ในท่ายืดขาชี้เท้า เนื่องจากท่านี้มีความเหมาะสมกับลักษณะการบรรเลงที่หันปากลำโพงเครื่องดนตรีมาด้านหน้า เพื่อส่งเสริมให้ทำนองมีความโดดเด่นมากกว่าแนวเสียงอื่น ๆ ลดการสั่นของเสียง และทำให้การบรรเลงทำนองมีคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). แนวทางการจัดประกวดวงโยธวาทิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์.

กันตภณ ตันแต้มดี. (2562). การพัฒนากิจกรรมบัลเลต์เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพทางกาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นัฎกานต์ ชนะสงคราม. (2565). การพัฒนาคู่มือการออกแบบภาพแปรขบวนสำหรับวงโยธวาทิต. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิพัต กาญจนะหุต. (2567, 13 มกราคม). แนวทางการสร้างสรรค์ลีลาสำหรับการแสดงดนตรีสนาม [Interview].

ภัชภรชา แก้วพลอย. (2559). หลักสูตรการเรียนบัลเลต์ในค่านิยมปัจจุบันของสังคมไทย. วารสารดนตรีและการแสดง. 2(1): 114-125.

สวัสดิ์ เงินแย้ม. (2543). คู่มือการจัดการวงโยธวาทิตในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:

Betweenbands. (2021). History of Marching Band. [Online], Available: https://betweenbands.org/historyofmarchingbands.html. (2024, 24 April).

Royal Academy of Dancing. (1993). Step-By-Step Ballet Class: The Official Illustrated Guide. Chicago: Contemporary Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-08-2024