ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการกับความภักดีของลูกค้า ในการเข้าใช้บริการร้าน Supersports ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศรินธร ไชยรัตน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การบริการ, คุณภาพการบริการ, ความภักดีของลูกค้า, ร้าน Supersports

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพการให้บริการและระดับความภักดีของลูกค้าในการเข้าใช้บริการร้าน Supersports และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพการให้บริการกับความภักดีของลูกค้าในการเข้าใช้บริการร้าน Supersports การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม มีระดับความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .978 โดยค่าระดับความเชื่อมั่นแยกเป็นรายด้าน คือ ด้านคุณภาพการบริการมีระดับค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .981 และด้านความภักดีของลูกค้าในการเข้าใช้บริการร้าน Supersports มีระดับค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .974 กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและเคยซื้อสินค้าในร้าน Supersports จำนวน 400 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็นแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) สถิติที่ใช้ในกการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุณภาพการบริการของร้าน Supersports มีระดับความคิดเห็น ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 (S.D.=.861) และระดับความภักดีของลูกค้าในการเข้าใช้บริการร้าน Supersports ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 (S.D.=.652) และเมื่อทำการทดสอบ ด้วยสถิติการสหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่า ปัจจัยคุณภาพการให้บริการมีความสัมพันธ์ต่อความภักดีของลูกค้าในการเข้าใช้บริการร้าน Supersports ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับสูง ทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชัยวัฒน์ กลมปล้อง. (2563). คุณภาพบริการและส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการสถานบริการฟิตเนสในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฏฐา อุ่ยมานะชัย. (2556). ผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์กับพลังการบอกต่อ. วารสารนักบริหาร. 33(3): 47-51.

ณัฐจิรา อิ่มวิเศษ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีในตราสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสตาร์เวลล์ ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บริษัทดับเบิ้ล บี มีเดีย จำกัด. (2567). เจาะ 5 อินไซต์ดันตลาดค้าปลีกกีฬาโต Supersport ชูมัลติสโตร์ดึงผู้ซื้อกลุ่ม Brand Loyalty ลดลง นิยมซื้อหลายแบรนด์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.brandbuffet.in.th/2024/05/supersports-unveiled-3-key-strategies-new-brand-direction/.

บริษัท ซุปเปอร์สปอร์ต จำกัด. (2567). เกี่ยวกับSUPERSPORTS. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.Supersportss.co.th/th/content/about-Supersportss.

พิมพ์ญาดา วังชิณกุลโรจน์. (2563). ผลกระทบของคุณภาพบริการต่อความภักดีผู้บริโภคของร้านขายยาในอำเภอเมืองเชียงราย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภักดี กลั่นภักดี. (2564). คุณภาพการบริการ กลยุทธ์การตลาดบริการ และความพึงพอใจต่อการบริการวิถีใหม่ที่ส่งผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ใช้บริการสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพระดับสากลในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รสสุคนธ์ แซ่เฮีย. (2556). ปัจจัยพฤติกรรมการใช้บริการโรงแรม คุณภาพการบริการส่วนผสมการตลาดบริการ และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาวแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย. (2567). 5 มิติคุณภาพการบริการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttps://www.facebook.com/SMEDevelopmentBank/photos/a.985956378124207/3612852002101285/

วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2567). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2567-2569: ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/wholesale-retail/modern-trade/io/modern-trade-2024-2026

วิจัยธุรกิจธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์. (2567). ภาพรวมธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์กีฬา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.lhbank.co.th/getattachment/2e204d8f-7d11-4877-a646-c3f1f59c69e7/economic-analysis-Industry-Outlook-2024-Sports-equipment-retailer.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2549). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สวารินทร์ อารยวรรณไชยา และสวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2564). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความภักดีต่อตราสินค้าผ่านคุณภาพการบริการและประสบการณ์ตราสินค้า กรณีศึกษาสนามฟุตบอลหญ้าเทียม จังหวัดนนทบุรี. BU Academy Review. 20(2): 55.

สราลี ธีรสุขาภรณ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้าในการเข้าใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329.

อลงกรณ์ รักษ์พราหมณ์ ธนายุ ภู่วิทยาธร และสุณีย์ ล่องประเสริฐ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการ การสร้างคุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของร้านกาแฟ. วารสารวิทยาการจัดการ. 5(2):155.

อิสริยาภรณ์ อัศเวศน์ และระบิล พ้นภัย. (2565). ทัศนคติและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความภักดีในตราสินค้าวิดีโอสตรีมมิ่งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 24(1): 1-2.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Dick, A. S., & Basu, K. (1994). Customer loyalty: toward an integrated conceptual framework. Journal of the academy of marketing science. 22(2): 99-113.

Jacob, J. & Chestnut, R. W. (1978). Brand Loyalty Measurement and Management. New York: John Wiley and Sons.

Marta, F., Marco, L., Alejandro, M. D. (2024). Customer inspiration in retailing: The role of received novelty and customer loyalty across and online channels. Journal of Retailing and Consumer Services. 76: 1.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing. 64(1): 12-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-08-2024