การศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น, การจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, นักศึกษาวิชาชีพครูบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีรูปแบบการศึกษา
เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลคือ อาจารย์สาขาวิชาการสอนภาษาไทย จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการศึกษาข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการจัด การเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีความเที่ยงตรงของเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 3.67-5.00 ประชากร คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย จำนวน 27 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาวิชาชีพครูมีความจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมการจัด การเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยผลการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาของวรรณคดีไทยรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบด้านสภาพการณ์ของการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย และ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNImodified 0.11) รองลงมาคือ ด้านการใช้สื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (PNImodified 0.09) และอันดับที่ 3 คือ ด้านการวัดและประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย (PNImodified 0.06)
References
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2546). การประเมินความต้องการจำเป็น. ใน สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (หน้า 75-79). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชลธิชา หอมฟุ้ง และสมพร ร่วมสุข. (2559). การสอนคติชนวิทยากับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนและการเสริมสร้างความภูมิใจในภูมิปัญญาไทย. Veridian E-Journal. (9)2: 1549-1563.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ภาวิณี เดชเทศ. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาการออกแบบการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2 ในการส่งเสริมสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการสื่อสารผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้โครงงานภาษาอังกฤษ. วารสารครุพิบูล. 3(2): 97-108.
วรวิทย์ นิเทศศิลป์ และชวลิต ขอดศิริ. (2560). การบูรณาการการเรียนการสอนด้วยวิธีการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนา. วารสารวิชาการธรรมทัศน์. 17(3): 285-295.
สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) (ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561). [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://epar.kpru.ac.th/contents/edms/EDMS-Doc-201905131557735366.pdf. (2566, 5 มกราคม).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 หนึ่งฤทัย ชวนะลิขิกร , จันทร์จิรา หาวิชา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์