การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี
คำสำคัญ:
การเสริมพลังอำนาจ , หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การดำเนินชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบ การเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สอนรายวิชาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของวิทยาลัยนาฏศิลปแห่งละ 1 คน รวม 12 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยืนยันข้อมูลโดยใช้เทคนิค เดลฟาย (Delphi) 2) แบบประเมินการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบ การเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หาคุณภาพของเครื่องมือ โดยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัยระหว่าง ควอล์ไทล์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) แบบการวิเคราะห์สารระบบ (Taxonomy Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การค้นพบสภาพการณจริง กิจกรรมที่ 2 การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ (การตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง) กิจกรรมที่ 3 การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง และกิจกรรมที่ 4 การคงไวซึ่งการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้เรียนมีสภาพการเสริมพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (M = 4.51, S.D. = 0.49)
3. ภายหลังการทำกิจกรรมในการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเสริมพลังอำนาจ ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (M = 4.60, S.D. = 0.55) โดยผู้เรียนคิดว่ารูปแบบการเสริมพลังอำนาจทำให้นักศึกษามีแนวทาง การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
References
กนิษฐา ทองเลิศ. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5(2): 533 - 548.
เกินศักดิ์ ศรีสวย. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ดิเรก สุขสุนัย. (2560). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การประเมินเพื่อเสริมพลังอำนาจสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
นิตยา เพ็ญศิรินภา. (2558). การสร้างพลัง. สืบค้นจาก http://ejournal.swa.ac.th.
ปรัชญา พลพุฒินันท์. (2554). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.loeitech.ac.th/webetc/economy/popeng.html.
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2551). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นจาก https://www.chaipat.or.th/publication/publish-document/sufficiency-economy.html.
วิชัย ชูจิต. (2563). การสร้างพลังชุมชน. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/22229.
เอื้อทิพย์ คงกระพันธ์. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเองของเยาวชนคาทอลิก โดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Conger, J. A., & Kanungo, R. N. (1988). The empowerment process: Integrating theory and practice. Academy Management Review. 13(3): 471-482.
Gibson, C. H. (1991). Concept Analysis of Empowerment. Journal of Advanced Nursing. 16(1): 354-361.
Ivancevich, J. M. & Matteson, M. t. (1999). Organization Behavior and Management. (5th ed). Boston, MA: Irwin McGrew-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชวงศ์ นวลอินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์