ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารภายในองค์การกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพนักงานจัดจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง

ผู้แต่ง

  • กัมปนาท เหลืองแดง หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • พรพรหม ชมงาม ภาควิชาการสื่อสารและสื่อใหม่ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การสื่อสารองค์การ, การสื่อสารภายในองค์การ, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, พนักงานจัดจ้าง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสื่อสารภายในองค์การของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง 2) ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานจัดจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารภายในองค์การกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานจัดจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานจัดจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขา ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง จำนวน 289 คน ใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากโปรแกรม G*Power โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผลการตรวจสอบความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.89 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)
ผลการศึกษาพบว่า 1) การสื่อสารแนวนอน เป็นพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์การ ที่สำคัญมากที่สุดโดยเฉพาะพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล ทัศนคติ กับเพื่อนร่วมงาน 2) ความซื่อสัตย์สุจริต จัดเป็นประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ พนักงานจัดจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มากที่สุด โดยเฉพาะการไม่ละเลยหน้าที่ ไม่เอาเปรียบผู้อื่นไม่ใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ และ 3) การสื่อสารภายในองค์การมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของพนักงานจัดจ้าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ในระดับมาก (r = .664**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กษิณภัทร เศรษฐอุปการ, และ อัมพน ห่อนาค. (2566). การสื่อสารในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท โฮง สิน สาน คอนสตรัคชั่น จำกัด. Journal of Modern Learning Development. 8(3): 178-188.

ณฐอร กีรติลาภิน. (2560). รูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐกุล ภูกลาง. (2561). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เทพอาภรณ์ มุ่งฝูงกลาง, และสมศักดิ์ ตันตาศนี. (2562). การสื่อสารภายในองค์การกับความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ยูเนียน. วารสารการประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3. 341-348. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/2074

ธนัชชา ชิดชม. (2564). รูปแบบการสื่อสารในองค์กรเพื่อลดความขัดแย้ง และสร้างความไว้วางใจในการทำงานเป็นทีมของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชน ABC ในจังหวัดสมุทรปราการ.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะการสื่อสารในองค์กร มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญช่วง ศรีธรราษฎร์ และอารยะรัตน์ ชารีแสน. (2563). อิทธิพลของความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงาน ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 15(1): 51-63.

พนิดา เกรียงทวีทรัพย์. (2561). รูปแบบการสื่อสาร และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร: กรณีศึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภัคธมล ศิรอรุณภัทร. (2565). การสื่อสารในองค์ที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของบุคลากร ในวิทยาลัยนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์. 16(1): 204-233.

มาลัยพรรณ ปั้นทรัพย์. (2561). ผลกระทบของประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์กรที่มีต่อความสําเร็จในการดําเนินงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8. 1917-1935. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก:http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/8thconference/article/view/1085

รัฐนันท์ หนองใหญ่. (2558). ปัจจัยการสื่อสารภายในองค์กรที่ส่งผลต่อการเปิดรับข่าวสาร ของพนักงาน กรณีศึกษาโรงแรมเดอะซายน์ แอนล์ วิลล่า. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ริญญารัตน์ อัครโชคนวกิตติ์ และลัดดาวัลย์ เลขมาศ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรกับประสิทธิผลการทำงานของพนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สนามบินสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

รุจิ ปัญญาสาร. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารในองค์กรกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผู้รับเหมาระบบไฟฟ้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระรัฐประสนศาสนศตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรวงษ์ ยศวัฒนะกุล. (2562). รูปแบบการสื่อสารที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรโรงเรียนอนุบาลชุมชนบางบ่อ (ศุภพิพัฒน์รังสรรค์). การค้นคว้าอิสระ

รัฐประสนศาสนศตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิษณุ โชโต จินตนา บุนนาค สุภาภรณ์ บุญเจริญ และรัตนา คงสืบ. (2566). ปัจจัยการปฏิบัติงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cohen, J. (1998). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd. ed.). Hillsdale, NJ: Erlbaum.

Hair, J. F., Hult, G. T. M.., Ringle, C. M. & Sarstedt, M. (2017). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). (2nd ed.). Sage Publications.

Sharbaji, Y. (2021). Role and impact of internal communication among employees within an organization in the digital communication era [Doctoral dissertation, Tesis de maestria, Tallinn University of Technology] file:///C:/Users/MIRIAM/Downloads/295417f2d87245718d1ce011903e8245.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024