การพัฒนาแชทบอทเพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรม ภาษาไพทอน วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
แชทบอท, เสริมศักยภาพการเรียน, โปรแกรมภาษาไพทอน, วิชาวิทยาการคำนวณบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของแชทบอท เพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนด้วยแชทบอท เพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาคะแนนพัฒนาการด้านการเรียนด้วยแชทบอทเพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้แชทบอทเพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา น้อมเกล้า นนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบสุ่มตัวอย่าง แบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาเทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก 3) แชทบอทเพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน 4) แบบฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน จำนวน 20 แบบฝึก และ 5) แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แชทบอท สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแชทบอทเพื่อช่วยเสริมศักยภาพการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.08/85.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนด้วยแชทบอท โดยกลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) พัฒนาการด้านการเรียนด้วยแชทบอทมีค่าพัฒนาการสัมพัทธ์ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 75.71 สูงกว่าระดับปานกลางที่ตั้งไว้ 4) ความพึงพอใจต่อการใช้แชทบอท มีค่าเฉลี่ยอยู่เท่ากับ 4.51 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 อยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด
References
ทิพย์วรรณ ฟูเพื่อง. (2564). การพัฒนาแชทบอทให้ความรู้ด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. ครั้งที่ 4. 22 พฤษภาคม 2564. (29-38). นครปฐม: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รัตนะ บัวสนธ์. (2565). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิไลวรรณ สุระวนิชกุล. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิรัฐ อิ่มแช่ม. (2562). ผลของการใช้แชทบอทที่มีการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Essel, H. B. et al. (2022). The impact of a virtual teaching assistant (chatbot) on students’ learning in Ghanaian higher education. International Journal of Educational Technology in Higher Education. 19(1): 57.
Kadar, R. et al. (2021). A Study of Difficulties in Teaching and Learning Programming. A Systematic Literature Review. International Journal of Academic Research in Progressive Education and Development. 10(3): 591-605.
McLoughlin, C. (2002). Learner Support in Distance and Networked Learning Environments: Ten Dimensions for Successful Design. Distance Education. 23(2): 149-162.
Okonkwo, C. W., & Ade-Ibijola, A. (2021). Chatbots applications in education: A systematic review. Computers & Education: Artificial Intelligence. 2(100033): 1-10.
Vanichvasin, P. (2021). Chatbot Development as a Digital Learning Tool to Increase Students’ Research Knowledge. International Education Studies. 14(2): 44.
Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society. The development of higher psychological processes. Cambridge: Harvard University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 กิตติพงศ์ นาคบาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์