การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะที่มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
คำสำคัญ:
การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ผู้บริหาร, อัตรากำลังบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะที่มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลังขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจาก การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะที่มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลังขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้ข้อจำกัดด้านอัตรากำลังขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร และอัตรากำลังคนขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง และผู้เกี่ยวข้องในฐานะผู้รับผิดชอบงานบริหารงานบุคคลท้องถิ่น คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดอ่างทอง ผู้แทนจากสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดอ่างทอง รวมทั้งสิ้น 54 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ข้าราชการและพนักงานจ้าง ที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ จำนวน 15 คน ผู้แทนจากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอ่างทอง จำนวน 1 คน และผู้แทนคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดอ่างทอง จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และศึกษาเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษานำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการสรุปผลการศึกษา
ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะที่มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลังขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ มีการวางแผนอัตรากำลัง โดยการจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี มีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการบุคลากร 2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาวะที่มีข้อจำกัดด้านอัตรากำลัง ขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ คือ ปัญหาและข้อจำกัดด้านงบประมาณ กระบวนการสรรหาโดยส่วนกลาง การโอน(ย้าย)ของข้าราชการ และนโยบาย ของผู้บริหาร และ 3) แนวทางแก้ไขปัญหาและการพัฒนาบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้ข้อจำกัด ด้านอัตรากำลัง ขององค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ คือ สร้างความรู้ความเข้าใจในบริบทของผู้บริหาร แจ้งให้ผู้บริหารรับทราบถึงปัญหาในการขาดแคลนบุคลากร ส่งเสริมให้ข้าราชการและพนักงานจ้าง เข้าร่วมอบรมในสายงานที่รับผิดชอบ และให้ท้องถิ่นจังหวัดในการใช้ระเบียบกฎหมายงานบริหารงานบุคคลท้องถิ่น
References
จักรพันธ์ จันเขตร. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้านอัตรากำลัง กรณีศึกษาเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เจษฎา สิงหเสรี. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของราชการส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลนครสมุทรสาคร. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัทนภัค สุดใจ.(2557).การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ธนวัฒน์ จารุเดชา.(2563).การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้ข้อจำกัดด้านกำลังคน กรณีศึกษา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (2542, 18 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 120 ก. หน้า 1-20.
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (2537, 26 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 111 ตอนที่ 53 ก. หน้า 1-44.
สำนักงาน ก.อบต. (2545, 24 ตุลาคม). ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ. 2555.
สำนักงาน ก.อบต. (2563, 19 สิงหาคม). ประกาศคณะกรรมการพนักงานกลางส่วนตำบล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนราชการและระดับตำแหน่งขององค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563.
องค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์. (2563, 19 ตุลาคม). แผนอัตรากำลัง 3 ปี (พ.ศ. 2564 - 2566) องค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง.
องค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์. (2566, 29 กันยายน). แผนอัตรากำลัง 3 ปี (พ.ศ. 2567 - 2569) องค์การบริหารส่วนตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง.
อุดร คำทิพย์โพธิ์ทอง. (2560). การประเมินการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. ค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 จรัสพิมพ์ เปี่ยมศิริ, กัมลาศ เยาวะนิจ, ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน มิใช่เป็นทัศนะและมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการจัดทำวารสาร และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์