การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักศึกษาครูประถมศึกษาในเขตภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • มะนีวัน แก้วดวงดี หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ขวัญ เพียซ้าย หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุกัญญา หะยีสาและ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เอนก จันทรจรูญ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน, คณิตศาสตร์, เศษส่วน, นักศึกษาครูประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนของนักศึกษาครูประถมศึกษาในเขตภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาครูประถมศึกษา ชั้นปีที่ 2 ที่ศึกษาในหลักสูตรกรมสร้างครูประถม 2020 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 สถาบันการศึกษาในเขตภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 55 คน ได้แก่ วิทยาลัยครูสะหวันนะเขต จำนวน 15 คน วิทยาลัยครูสาละวัน จำนวน 20 คน และวิทยาลัยครูปากเช จำนวน 20 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยจำนวน 54 ข้อ มีค่าความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 1.00 และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ของจำนวนครั้งและร้อยละของลักษณะมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน โดยการวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเรื่องเศษส่วน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเปรียบเทียบเศษส่วน ด้านการเรียงลำดับเศษส่วน ด้านการดำเนินการเศษส่วน และด้านการแก้โจทย์ปัญหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการเปรียบเทียบเศษส่วน นักศึกษาครูประถมศึกษามีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 27.27 โดยลักษณะของมโนทัศน์ความคลาดเคลื่อน คือ พิจารณาความมากน้อยเฉพาะตัวเศษและการพิจารณาความมากน้อยเฉพาะตัวส่วน 2) ด้านการเรียงลำดับเศษส่วน นักศึกษาครูประถมศึกษามีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนจำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 32.72 โดยลักษณะของมโนทัศน์ความคลาดเคลื่อน คือ พิจารณาความมากน้อยเฉพาะตัวเศษและ การพิจารณาความมากน้อยเฉพาะตัวส่วน 3) ด้านการดำเนินการเศษส่วน นักศึกษาครูประถมศึกษามีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 52.71 โดยลักษณะของมโนทัศน์ความคลาดเคลื่อน คือ นำตัวเศษและตัวส่วนดำเนินการตามเครื่องหมายที่ปรากฏ และนำตัวส่วนคูณกันและนำตัวเศษดำเนินการตามเครื่องหมายที่ปรากฏ และ 4) ด้านการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน นักศึกษาครูประถมศึกษามีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 67.27 โดยลักษณะของ มโนทัศน์ความคลาดเคลื่อน คือ ตีความประโยคภาษาในโจทย์ปัญหาคลาดเคลื่อน

References

กระทรวงแผนการและการลงทุน. (2021). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมแห่งชาติ 5 ปี ครั้งที่ IX (2021-2025). ลงวันที่ 22-26 มีนา 2021.นครหลวงเวียงจันทน์. ได้รับการเผยแพร่ในปี 2021 และจัดทำโดยกระทรวงแผนการและการลงทุนของประเทศลาว.

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2021). แผนพัฒนาการศึกษาและกีฬา 2021-2025. เวียงจันทน์. ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2021

คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว. (2016). กฎหมายว่าด้วยการศึกษาลาว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.

ฉัตรนัยน์ พุฒฟัก.(2566). แนวทางการส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นครูของครูการศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริม ประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ยุพิน พิพิธกุล. (2548). การสอนคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมสถาบันการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. (2555). สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย.

ศึกษาธิการประจำแขวงสะหวันนะเขต. (2010). แผนนโยบายด้านการศึกษา แขวงสะหวันนะเขต.

อรรถศาสน์ นิมิตรพันธ์. (2557). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ในขั้นตอนการหารยาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences. 12(2): 177-189.

อัมพร ม้าคนอง. (2557). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัศวิน บรรเทา. (2558). การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและมโนมติที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การหารเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 3(3): 12-24.

เสน่ห์ หมายจากกลาง. (2558). การศึกษาความรู้ของครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์: กรณีศึกษาเรื่อง เศษส่วน. วารสารราชพฤกษ์. 13(2): 59-68.

Makanong Amporn. (1993). A diagnosis of mathematics learning deficiency of mathayomsuksa five students of Chulalongkorn Universtiy Demonstration School. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Aliustaoğlu, F., Tuna, A., & Biber, A. C. (2018). The Misconceptions of Sixth Grade Secondary School Students on Fractions. lnternational Electronic Journal of Elementary Education. 10(5): 591-599.

Mutia, Alfitri, & Marwan, D. C. M. Z. (2019). Teachers’ Misconception on Fractions Based on the Errors of Elementary Students. International Journal of Science Arts and Commerce. 4(3): 81-92.

Drews, D., Dudgeon, J., Hansen, A., Lawton, F., & Surtees, L. (Eds.). (2005). Children′ s errors in mathematics: Understanding common misconceptions in primary schools. SAGE Publications.

Dhlamini, Z. B, & Kibirige, I. (2014). Grade 9 learners’ errors and misconceptions in addition of fractions. Mediterranean Journal of Social Sciences. 5(8): 236-244.

Istiqomah, M. N., & Prabawanto, S. (2019). The difficulties of fifth grade students in solving mathematic fractions word problems. AL-ASASIYYA: Journal of Basic Education. 3(2): 152-160.

Jigyel, K., & Afamasaga-Fuata'i, K. (2007). Students' conceptions of models of fractions and equivalence. Australian Mathematics Teacher. 63(4): 17-25.

Lestiana, H. T., Rejeki, S., & Setyawan, F. (2016). Identifying students’ errors on fractions. JRAMathEdu (Journal of Research and Advances in Mathematics Education). 1(2): 131-139.

Mack, N. K. (1995). Confounding whole-number and fraction concepts when building on informal knowledge. Journal for research in mathematics education. 26(5): 422-441.

Newstead, K., & Murray, H. (1998). Young students' constructions of fractions. Proceedings of the Twenty-second International Conference for the Psychology of Mathematics Education. 22(3): 3-295.

Newton, K. J. (2008). An extensive analysis of preservice elementary teachers’ knowledge of fractions. American educational research journal. 45(4): 1080-1110.

Rachmah, D. Y. (2020). Pengembangan Instrumen Asesmen Diagnostik Untuk Melihat Pemahaman Konsep Aljabar. University Islam Negeri Sunan Ampel Surabaya Faculty of Education and Teacher Training.

Ratnasari, R. (2018). Students’ errors and misconceptions about operations of fractions in an Indonesian primary school. Southeast Asian Mathematics Education Journal. 8(1): 83-98.

Smith III, J. P. (2002). The Development of Students' Knowledge of Fractions and Ratios. National Council of Teachers of Mathematics(NCTM).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024