อิทธิพลของค่ากำลังอัดของคอนกรีต และขนาดตัวอย่างทดสอบที่มีผลต่อ การทดสอบค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่ได้จากการทดสอบแบบไม่ทำลายโดยใช้ค้อนกระแทก

Main Article Content

ชูชัย สุจิวรกุล
กนกวรรณ ชัยวรวิทย์กุล

บทคัดย่อ

     โครงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาดตัวอย่างทดสอบที่มีผลต่อค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่ได้จากการทดสอบแบบไม่ทำลายโดยใช้ค้อนกระแทก ค่ากำลังอัดของตัวอย่างคอนกรีตที่ใช้จริงตามมาตรฐาน ASTM C192 มีอยู่ 3 ระดับคือ 235, 321, และ 398 กก./ซม.2 ตัวอย่างคอนกรีตถูกทำการทดสอบกำลังอัดแบบทำลายโดยใช้ค้อนกระแทก โดยใช้มุมทดสอบ 3 ทิศทางคือ มุม-90˚ มุม 0˚ และ มุม+90˚ ขนาดของตัวอย่างคอนกรีตที่ใช้ในการทดสอบแบบไม่ทำลายมี 5 ขนาด คือ รูปทรงลูกบาศก์ ขนาด 15x15x15 ซม รูปทรงปริซึมสี่เหลี่ยมขนาด 22.5x22.5x15 ซม และ 30x30x15 ซม ตัวอย่างรูปทรงกระบอกมี 2 ขนาด คือ Ø15x20 ซม และ Ø15x30 ซม ตัวอย่างคอนกรีตทั้งหมดถูกบ่มในน้ำที่ 28 วัน จากการทดสอบพบว่าขนาดของก้อนตัวอย่างทดสอบที่มีขนาดกว้างขึ้นและหนาขึ้นได้ค่ากำลังอัดที่อ่านได้จากการทดสอบแบบไม่ทำลายมากกว่าเนื่องจากตัวอย่างคอนกรีตรับแรงสะท้อนจากเครื่องทดสอบค้อนกระแทกได้ดีกว่า  และจากการทดสอบได้พบว่าตัวอย่างรูปทรงกระบอกจะให้ค่ากำลังอัดจากการทดสอบโดยค้อนกระแทกสูงกว่าตัวอย่างรูปทรงลูกบาศก์ซึ่งเกิดมาจากตัวอย่างรูปทรงกระบอกมีความหนาที่มากกว่าทำให้แรงสะท้อนได้สูงกว่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] จิอิ ซาโตะ, 2543, การทดสอบแบบไม่ทำลาย, พิมพ์ครั้งที่ 6, สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), กรุงเทพมหานคร, หน้า 285-316
[2] American Society for Testing and Materials, ASTM C805-02, 2002, Standard Test Method for Rebound Number of Hardened Concrete, Annual Book of ASTM Standards, Philadelphia , Vol. 04.02, pp.100-103
[3] ทรงฤทธิ์ พุทธลา, วินัย สีสงคราม, นายเวคิน นามบุญลือ, 2549, การศึกษาความแม่นยำของค้อนยิงคอนกรีต, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
[4] Chai Ko Nyim, 2006, Reliability in Interpreting Non-Destructive Testing (NDT) Results of Concrete Structures, Thesis of the degree of Master of Engineering (Civil Structure) Faculty of Civil Engineering University Technology Malaysia, pp. 53-74
[5] วิบูลย์ วุฒิญาณ, สมชาย สำลีรางค์กูล และสุพจน์ ศรีนิล, 2548, “การเปรียบเทียบการประเมินกำลังคอนกรีตโดยวิธีอัลตราโซนิก, ชมิดท์แฮมเมอร์ และการทดสอบแบบทำลาย”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธา, ครั้งที่ 10, 2-4 พฤษภาคม 2548, โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน, จังหวัดชลบุรี, หน้า STR 198-STR 202
[6] ACI Committee 211, Standard Practice for Selecting Proportions for Normal, Heavyweight , and Mass Concrete., American Concrete Institute, Farmington Hill, MI, 1991, 38 pages.
[7] American Society for Testing and Materials, ASTM C494/494M-16, Standard Specification for Chemical Admixtures for Concrete, Philadelphia , 2016, 10 pages.
[8] British Standard, BS EN 12390-3 : 2002 : Testing hardened concrete---Part 3: Compressive strength of test specimens.
[9] American Society for Testing and Materials, ASTM C39 : 2004 : Standard Test Method for Compressive Strength of Cylindrical Concrete Specimens.