ประสิทธิภาพจุลินทรีย์อีเอ็มร่วมกับมูลสัตว์ต่อผลผลิตแหนแดง

Main Article Content

ปริศนา อัครพงษ์สวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้แผนการทดลองแบบ Factorial in CRD 6x3x2 ปัจจัยที่ 1 ชนิดมูลสัตว์ [มูลไก่ มูลไก่ปั้นเม็ด มูลสุกร มูลโค มูลนกกระทาผสม มูลโค (1:3) และมูลค้างคาวผสมมูลโค (1:3) ปัจจัยที่ 2 ระดับมูลสัตว์ 0.5, 1.0, 1.5 กิโลกรัม ปัจจัยที่ 3 หมักและไม่หมักอีเอ็ม เพาะในบ่อซีเมนต์เส้นผ่าศูนย์กลาง 100 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร (0.79 ม2) ในระยะเวลา 30 วัน มีวัตถุประสงค์; เพื่อศึกษาประสิทธิภาพจุลินทรีย์อีเอ็มร่วมกับใช้มูลสัตว์ต่างชนิดในระดับที่แตกต่างกันต่อผลผลิตแหนแดง ผลการทดลองพบว่า ใช้มูลนกกระทาผสมมูลโค (1:3) และมูลค้างคาวผสมมูลโค (1:3) 1 - 1.5 กิโลกรัม หมักหรือไม่หมักอีเอ็มก่อนนำลงบ่อเพาะจะให้ผลผลิตแหนแดงในวงบ่อซีเมนต์ 0.79 ตารางเมตร (ม2) สูงกว่ามูลไก่ผง มูลไก่ปั้นเม็ด มูลสุกร และมูลโคอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<.01)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Bairagi, A., Ghosh, K.S. Sen, S.K. & Ray, A.K., Duckweed (Lemna polyrhiza) leaf meal as a source of feed stuff in formulated diets for rohu (Labeo rohita Ham.) fingerings after fermentation with a fish intestinal bacterium. Bioresource Technololgy, 85, 17-24, 2002.
[2] Detta, S.N., Culture of Azolla and its efficacy in diet of Labeo rohita. Aquaculture, 310, 376-379, 2011.
[3] Rai, V.K. Sharma, N.K., & Rai, A.K. 2003. Growth and cellular ion content of a salt-sensitive symbiotic system Azolla pinnata - Anabaena azollae under NaCl stress. Journal of Plant Physiology, 163, 937-944.
[4] กรมวิชาการเกษตร, วิเคราะห์คุณภาพมูลสัตว์, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, พ.ศ. 2542.
[5] กองเกษตรเคมี, วิเคราะห์คุณภาพมูลสัตว์, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, พ.ศ. 2537.
[6] เกชา ลาวัลยะวัฒน์, วิเคราะห์ธาตุปุ๋ยในมูลสัตว์แห้ง, พ.ศ. 2554.
[7] เกรียงไกร จำเริญมา, อี เอ็ม คือ อะไร. วารสารกีฏะและสัตววิทยา, 15, 2 (เมย.–มิย.), พ.ศ. 2538.
[8] ดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย, สมาคม, สรุปประเด็นการให้ความรู้เรื่องปุ๋ยอย่างเหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, พ.ศ. 2548.
[9] เทรุโฮะ ฮิงะ, การปฏิวัติอันยิ่งใหญ่เพื่อช่วยเหลือโลก, สุขภาพใจการพิมพ์, พ.ศ. 2536.
[10] นันทกร บุญเกิด, การใช้แหนแดงในนาข้าว, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, พ.ศ. 2546.
[11] ปริศนา อัครพงษ์สวัสดิ์, ประสิทธิภาพจุลินทรีย์อีเอ็มร่วมกับการใช้มูลไก่และมูลสุกรต่อการเจริญเติบโตของแหนแดง, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่, พ.ศ. 2554.
[12] ศูนย์ฝึกอบรมและเผยแพร่เกษตรธรรมชาติคิวเซ, EM (Effective Microorganisms) การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์อีเอ็มจากธรรมชาติเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในวันนี้, ธีรสาสน์การพิมพ์, พ.ศ. 2545.
[13] สุนทร ตรีนันทวัน, แหนแดงผู้ผลิตปุ๋ยไนโตรเจนในอากาศ, สสวท, พ.ศ. 2544.