การพัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สู่ความเป็นเลิศทางด้านการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา 4.0

Main Article Content

ดร.วรวิทย์ ศรีตระกูล

บทคัดย่อ

สถาบันการอาชีวศึกษา (Vocational Education Institution) เป็นกลุ่มสถาบันรัฐในประเทศไทย เกิดจากการรวมสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ก่อตั้งในปี 2555 โดยอาศัยอำนาจตามความ  ในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 13 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ระบุว่า “สถาบันอาชีวศึกษาสามารถรวมเข้าไว้ในสถาบันการจัดตั้งคณะกรรมการอาชีวศึกษาเข้าด้วยกันในสถาบันอาชีวศึกษา สามารถทำได้โดยคำนึงถึงความร่วมมือที่เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ประกาศจัดตั้ง “คณะกรรมการอาชีวศึกษา” เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การรวมและแยกสถาบันการศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็น “สถาบันการอาชีวศึกษา” จำนวน 19 แห่งทั่วประเทศ ให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รวมถึงปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ โดยใช้หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)


          ในการรวมตัวเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาจำนวน 19 แห่งทั่วประเทศนั้น จะต้องมีการประเมินถึงความพร้อมของแต่ละวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ความพร้อมของสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสอนและการวิจัย และที่สำคัญที่สุดคือความพร้อมของบุคลากร โดยเฉพาะคณาจารย์ที่จะสอนในระดับปริญญาตรี ซึ่งต้องมีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาโทเป็นอย่างต่ำที่ตรงกับสาขาวิชาที่จะทำการจัดการเรียนการสอน  ปัจจุบันมีจำนวนสถานศึกษาที่สังกัดในแต่ละสถาบันการอาชีวศึกษา   แต่ละภูมิภาคดังแสดงในรูปที่ 1 



ภูมิภาค




ชื่อสถาบัน




จำนวนสถานศึกษาในสังกัด




กรุงเทพฯ




สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร




13 สถานศึกษา




ภาคตะวันออก




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก 




9 สถานศึกษา




ภาคเหนือ




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ ๑ 




7 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ ๒ 




9 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ ๓ 




8 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ ๔ 




6 สถานศึกษา




 


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑




10 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒ 




4 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓     




9 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๔     




7 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕                                            




9 สถานศึกษา




 


ภาคกลาง




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑ 




10 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๒ 




7 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๓ 




10 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๔ 




9 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๕ 




7 สถานศึกษา




ภาคใต้




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๑




11 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๒




 7 สถานศึกษา




สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ ๓




 8 สถานศึกษา




  




 



รูปที่ 1 แผนภาพแสดงจำนวนสถานศึกษาที่สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา


 


         


จะเห็นได้ว่าสถาบันการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งมีที่ตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนสู่ความเป็นเลิศ เพื่อผลิตกำลังคนสู่ประชาคมอาเซียน โดยเน้นคุณลักษณะเด็กไทยที่เรียนสายอาชีพจะต้องมีคุณลักษณะ 3 ด้าน


1) ด้านความรู้
2) ด้านทักษะทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
3) ด้านเจตนคติที่ดีต่อการปฏิบัติตนต่อการทำงาน  
ภารกิจในการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษานี้ค่อนข้างหนักที่จะต้องระดมทรัพยากรด้านพัฒนาการศึกษาจากแหล่งต่างๆ เช่น สถานประกอบการ องค์การชุมชน องค์กรเอกชน สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศ มาใช้จัดการศึกษาตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาดังกล่าวให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นทางสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1-5 ได้มีการเตรียมความพร้อมและแผนงานต่างๆ ในการพัฒนาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1-5 สู่ความเป็นเลิศทางการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา รวมถึงด้านวิจัยและนวัตกรรม

Article Details

บท
บทความพิเศษ