อุปกรณ์เตือนการขโมยรถจักรยานยนต์

Main Article Content

ว่าที่ ร.ต. ชัชวาลย์ ป้อมสุวรรณ

บทคัดย่อ

จากสภาพในปัจจุบันรถจักรยานยนต์เป็นยานพา หนะใช้งานในประเทศไทยอยู่เป็นจำนวณมาก และมีสถิติเกี่ยวกับการขโมยรถจักรยานยนต์ เม.ย. 2556 - เม.ย. 2557 มีผู้เสียหายเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีรถจักรยานยนต์ 2,583 คดี (ประชาชาติธุรกิจ 31 ต.ค. 2560)  ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของรถ เกิดความสูญเสียทางเศรฐกิจ เกิดอาชญากรรม ผลที่ตามมานี้เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศชาติ จากข่าวทีวีและในสื่อออนไลน์เผยแพร่ภาพวีดีโอที่บันทึกวิธีการขโมยรถจักรยานยนต์ไว้ได้ ขโมยใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที ในการขโมยรถจักรยานยนต์ โดยใช้วิธีการต่างๆ ที่จะนำรถไปจากที่จอดรถของเจ้าของรถ เช่น ใช้กุญแจพิเศษ หักคอรถเพื่อให้ล๊อคคอรถหักออก ถ้าสตาร์ทรถได้ก็จะขับไป ถ้าสตาร์ทรถไม่ได้ก็ใช้วิธีการลากจูงไป ซึ่งทุกวิธีเป็นการใช้รถที่ผิดเงื่อนไขปกติที่ควรจะเป็น ผู้วิจัยจึงได้ประดิษฐ์อุปกรณ์เตือนการขโมยรถจักรยานยนต์ขึ้นเพื่อเป็นการแจ้งเตือนว่ารถได้ถูกใช้งานผิดเงื่อนไขหรืออาจกำลังถูกขโมย รถจักรยานยนต์ที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้เมื่อมีการใช้รถผิดเงื่อนไข เช่น ไม่ใช้กุญแจประจำรถ ไม่ยกเลิกระบบเตือนจะมีเสียงไซเรนดังขึ้นเพื่อให้เป็นจุดสนใจของคนที่อยู่ใกล้เคียง อุปกรณ์นี้จะถูกติดตั้งไว้ในรถเป็นอุปกรณ์วงจรไฟฟ้าที่ออกแบบมาให้ติดตั้งได้กับรถจักรยานยนต์ที่ประเภท โดยดัดแปลงและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มจากวงจรไฟฟ้าเดิมของรถ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าพื้นฐานราคาถูกติดตั้งง่าย และสามารถแจ้งเตือนได้จริง งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้าง และ ประเมินความเหมาะสมอุปกรณ์เตือนการขโมยรถจักรยานยนต์ ผลจากการประ เมินความเหมาะสมของอุปกรณ์เตือนการขโมยรถจักรยานยนต์ โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าคุณภาพด้านโครงสร้าง และ ด้านการใช้งาน โดยรวมพบว่าค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x}= 4.418 , S.D.=0.597)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ประชาชาติธุรกิจ 31 ต.ค. 2560
[2] งานไฟฟ้ารถยนต์ (ประภาส พวงชื่น)
[3] สัญญาณกันขโมยจากโทรศัพท์มือถือ วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช อาชีวศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช
[4] RFID [ออนไลน์]2555 [อ้างเมื่อ 20 สิงหาคม 2559].จาก [http://www.thaieasyelec.com/article- wiki/basic-electronics/rfid-basic.html]