พัฒนารูปแบบการเรียน การสอนโดยใช้กรณีศึกษาในการส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์วิชาอาชีว อนามัยและความปลอดภัย รหัสวิชา 2001-1004 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556

Main Article Content

ไพฑูรย์ ยศเตา

Abstract

วัตถุประสงค์การวิจัย  1)  เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา ในการส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนรายวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2)  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กรณีศึกษาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้มีประสิทธิภาพ E1 /E2  ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้  80/80  3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กรณีศึกษาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 4) เพื่อประเมินความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และลักษณะของผู้ที่มีการคิดวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นจากรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ใดยใช้กรณีศึกษา วิชาอาชีวอนามัยและความปลอด และ 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา วิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 สาขาวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี  1 ห้องโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม


      เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาทางด้านความปลอดภัย วิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2) เอกสารประกอบการสอนวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  4) แบบประเมินความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 5) แบบประเมินคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดวิเคราะห์ของที่เรียนวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และ 6) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา วิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ ร้อยละ (Percentage)


      ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์  ผู้วิจัยนำเสนอเป็นรูปแบบการสอนพีซีเอเอสเอ็นอี (PCASNE Model) ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการรูปแบบการสอน 2) วัตถุประสงค์การสอน 3) กระบวนการสอน 4) ผลของการใช้รูปแบบการสอน ในส่วนของกระบวนการสอนประกอบด้วย กระบวนการ 6 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 : เตรียมการเรียน  (Preparation : P) เป็นการเตรียมจัดกิจกรรมการเรียนซึ่งเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องจัดเตรียมสิ่งต่าง ขั้นที่ 2 : นำเข้าสู่กรณีศึกษา (Case Presentation : C) เป็นการนำเข้าสู่กระบวนการเรียนด้วยกรณีศึกษา ขั้นที่ 3 : วิเคราะห์กรณีศึกษา ( Analysis : A )  การวิเคราะห์กรณีศึกษา ขั้นที่ 4 : แบ่งปันประสบการณ์ (Sharing with Group : S ) การนำเสนอผลงาน แนวทางการวิเคราะห์ เป็นการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน  ขั้นที่ 5 : สรรหาวิธีการแก้ไข  (New Knowledge : N)  เป็นการอภิปรายสาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้  และสรุปแนวทางการนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและ ขั้นที่ 6 :  การประเมินผล (Evaluation : E) เป็นการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน ประสิทธิผลของสื่อและเครื่องมือที่ใช้ในกิจกรรมการเรียน การสอน ประกอบด้วย แบบฝึกหัด แบบทดสอบหลังเรียน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบประเมินความสามารถการคิดวิเคราะห์ และ แบบประเมินคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดวิเคราะห์

  2. ผลการหาประสิทธิภาพการเรียนโดยใช้กรณีศึกษาในการส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์วิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พบว่าค่าประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ย E1/ E2 เท่ากับ 79.46 / 78.82   สรุปได้ว่านักเรียนที่เรียน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 ที่ตั้งไว้

  3. ดัชนีประสิทธิผลทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กรณีศึกษาในการส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์ วิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.61 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 61

  4. ผลการวิเคราะห์ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ที่เกิดขึ้นจากรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกด้าน การวิเคราะห์ในภาพรวมหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับสูง (gif.latex?\bar{x} = 3.49) แสดงว่านักเรียนมีความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์สูง

  5. ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นจากรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พบว่าหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกด้าน การวิเคราะห์ในภาพรวมหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.32) แสดงว่านักเรียนมีคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดวิเคราะห์มาก

  6. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โดยใช้กรณีศึกษา วิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พบว่าคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวม นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.50)

Article Details

How to Cite
ยศเตา ไ. (2019). พัฒนารูปแบบการเรียน การสอนโดยใช้กรณีศึกษาในการส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์วิชาอาชีว อนามัยและความปลอดภัย รหัสวิชา 2001-1004 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556. Vocational Education Innovation and Research Journal, 1(2), 33–47. retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ve-irj/article/view/195745
Section
Research Articles

References

[1]ประกันสังคม. (2559). สำนักงาน. รายงานประจำปี ฝ่ายสถิติและรายงาน, กองวิจัยและพัฒนา, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
[2]จินตนา ยูนิพันธุ์. (2537). “กรณีศึกษา : นวกรรมการเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์.” วารสาร
คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
[3]ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมนเนจเม้นท์. . (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
. (2551). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
.(2552) ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4]นิยม กิมานุวัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 42,นักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชลบุรี เขต 2.
[5]ปรนัฐ กิจรุ่งเรือง. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[6]พัฒนา ศิริโชติบัณฑิต. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการใช้กรณีศึกษาในการสอนวิชาการโฆษณา และการส่งเสริมการขายของนักศึกษา. คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
[7]พรศิริ พันธสี และ อรพินท์ สีขาว. (2552). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อการพัฒนาความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลในคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
[8]มนต์ชัย พงศกรนฤวงษ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในสร้างความรู้ของนักเรียนช่างอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[9]มาเรียม นิลพันธุ์. (2554). แนวคิดและหลักการทำผลงานทางวิชาการในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา.
ในเอกสารประกอบการอบรมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อ เลื่อนสู่วิทยฐานะเชี่ยวชาญ. สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุคส์พับลิเคชั่น.
[10]วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[11]วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2552). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : เลิฟแอนด์ลิฟเพรส.
วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2541). การพัฒนารูปแบบการสอนสาหรับวิชาวิธีสอนทั่วไปแบบเน้นกรณีตัวอย่าง เพื่อ ส่งเสริมความสามารถของนักศึกษาครูด้านการคิดวิเคราะห์แบบตอบโต้ในศาสตร์การสอน. วิทยานิพนธ์ ค.ด. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[12]วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2542). การเรียนรู้ด้วย กรณีศึกษา” อย่างมีประสิทธิภาพ. รังสิตบิวสิเนสรีวิว 2.
[13]เสริมศรี ไชยศร. (2535). พื้นฐานการสอน. เชียงใหม่ : ลานนาการพิมพ์.
[14]เสงี่ยม โตรัตน์. (2546). “การสอนเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์” ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
[15]Dick. Walter. Lou Carey. And James O. Carey. The Systematic Design of Instruction. 6th ed. Boston : Pearson, 2004.
[16]Joyce, B. & Weil, M. (2009). Models of Teaching. (6th ed.) Boston: Allyn and Bacon.
[17]Kruse, Kevin.(2007)Instruction to Instruction Design and ADDIE model [online].
[18]McDonald.N.C. “A Critical Thinking/Learning
Model for Educating Adults.” Proceedings
International phoenix, Arizona U.S.A. Santos, K.E Student Teachers’ and Cooperating
Teacher’s Use to Promote Reflection and
Classroom Action Research (Field
Experience) Of Virginia 1994.
[19]Wassermann, S. 1994. Introduction to Case Method Teaching. New York: Teachers College Press.