ผลของการปรับผิวเส้นใยต่อสมบัติเชิงกลและสัณฐานวิทยาของคอมโพสิตเส้นใยใบสับปะรด และพอลิแล็กติกแอซิด

Main Article Content

พุทธชาติ สร้อยสน
ศุภัตรา ประทุมชาติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการนำเส้นใยใบสับปะรดมาใช้เป็นวัสดุเสริมแรงในพอลิแล็กติกแอซิดในอัตราส่วนต่างๆ โดยศึกษา1. ผลของการปรับผิวเส้นใยใบสับปะรดด้วยสารเคมี คือ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 4%โดยน้ำหนัก          2. ศึกษาผลของการทดสอบสมบัติเชิงกลของวัสดุคอมโพสิท และ 3. ศึกษาสัณฐานวิทยาของเส้นใยหลังการปรับผิว และสัณฐานวิทยาของวัสดุคอมโพสิทหลังการทดสอบสมบัติเชิงกลในอัตราส่วนต่างๆ โดยก่อนการเตรียมคอมโพสิทนั้น ทำการปรับผวิเส้นใยใบสับปะรดด้วยสารละลายสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และผสมกับพอลิแล็กติกแอซิดในอัตราส่วน 0%, 5%, 10% และ 20% ก่อนขึ้นรูปและทดสอบสมบัติเชิงกล และศึกษาสัณฐานวิทยาของเส้นใย และบริเวณรอยแตกของวัสดุคอมโพสิท พบว่า 1. ผลการปรับผิวเส้นใยทำให้ผิวของเส้นใยมีความขรุขระมากกว่าเส้นใยที่ไม่ผ่านการปรับผิวใน 2. ขณะที่การทดสอบสมบัติเชิงกล เช่น การทนแรงดึงของวัสดุคอมโพสิต พบว่า ค่าการทนแรงดึง และร้อยละการยืด ณ จุดขาดมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับพอลิแล็กติกแอซิดบริสุทธิ์ โดยผลจากการทดสอบความต้านทานแรงกระแทก พบว่า ค่าความต้านทานแรงกระแทกของวัสดุคอมโพสิตมีค่าสูงกว่าพอลิแล็กติกแอซิดบริสุทธิ์ ซึ่งสมบัติการทนแรงดึง และความต้านทานแรงกระแทกของคอมโพสิตขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของเส้นใยใบสับปะรดที่ใส่ลงในพอลิแล็กติกแอซิด และ 3. จากการศึกษาสันฐานวิทยาผลของการปรับผิวของเส้นใยใบสับปะรด ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Scanning Electron Microscope, SEM) ของคอมโพสิตหลังจากทดสอบแรงดึงและความต้านทานแรงกระแทก แสดงลักษณะผิวที่แตกพบว่าเส้นใยใบสับปะรดที่ไม่ผ่านการปรับผิวมีลักษณะหลุดออกจากเมทริกซ์เมื่อเทียบกับคอมโพสิตที่ใส่เส้นใยที่ปรับผิวด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Bhanu K. Goriparthi, K.N.S. Suman and Nalluri Mohan Rao. Effect of fiber surface treatments on mechanical and abrasive wear performance of polylactide/jute composites. Composites Part A:Applied Science and Manufacturing, 2012, pp. 1800-1808.
[2] Xue Li, Lope G. Tabil and Satyanarayan Panigrahi. Chemical treatments of natural fiber for use in natural fiber-reinforced composites: A review. Polymer Environment Journal. (15), 2007, pp. 25–33.
[3] Yusran Payae and Natinee Lopattananon. Adhesion of pineapple-leaf fiber to epoxy matrix: The role of surface treatments. Songklanakarin J. Sci. Technol. 31 (2), 2009, pp. 189-194.
[4] Susheel Kalia, B.S. Kaith and Inderjeet Kaur. Pretreatments of natural fibers and their application as reinforcing material in polymer composites--A review. Polymer Engineering Science, 49, 2009, pp. 1253–1272.