การบูรณาการโครงการบริการทางวิชาการกับกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะ

Main Article Content

กิ่งกาญจน์ ทองงอก
ศัชชญาส์ ดวงจันทร์
สุระสิทธิ์ ทรงม้า

บทคัดย่อ

จิตสาธารณะเป็นเรื่องที่ผู้คนในสังคมต้องตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากสังคมใดมีแต่คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม สังคมนั้นรอวันร่มสลาย จิตสาธารณะถือเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นและติดตัวผู้คนในสังคม บทความนี้กล่าวบทบาทของสถาบันการศึกษาที่จะต้องมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมให้เกิดอุปนิสัยจิตสาธารณะกับนักเรียน นักศึกษา ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติต่อไป โดยการสอดแทรกเนื้อหาให้ผสมกลมกลืนไปกับการเรียนการสอน โดยการบูรณาการการบริการวิชาการเข้ากับการจัดการเรียนการสอนด้วยโครงงาน จัดเป็นวิธีการที่ได้ผลและนิยมใช้ กระบวนการหลักคือ 1) กำหนดโจทย์หัวข้อโครงการบริการวิชาการสู่สังคมที่สอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชา ซึ่งได้จากการระดมสมองและนำเสนอหัวข้อ 2) วางแผนสำหรับการดำเนินงานเพื่อการแก้ปัญหา โดยผู้สอนเป็นผู้ควบคุมให้คำแนะนำ 3) ลงมือปฏิบัติโครงการบริการวิชาการตามที่วางแผนไว้ และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนประเมินผลการจัดโครงการ และ 4) สรุปวิเคราะห์ผลของการดำเนินโครงการบริการวิชาการสู่สังคม โดยการบูรณการผ่านกิจกรรมด้วยกล่าวจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการ พร้อมปลูกฝังจิตสาธารณะ ความโอบอ้อมในฐานะผู้ให้ ให้แก่นักศึกษาได้เป็นอย่างดีผ่านเรื่องราวที่ตัวผู้เรียนให้ความสนใจและเต็มใจช่วยสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] อ้อมใจ วงษ์มณฑา. "ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์". วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 23(1),พ.ศ.2555, หน้า 61 – 79.
[2] ปรีชา คำมาดี และประสพชัย พสุนนท์. "มูลเหตุจูงใจในการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดระยอง", เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 , พ.ศ.2558. หน้า 87 –95.
[3] ทิพมาศ เศวตวรโชติ. จิตสาธารณะ. [Online]. Available: จาก http://taamkru.com/th/จิตสาธารณะ/ [2560, พฤษภาคม 10] , พ.ศ.2556.
[4] ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และคณะ. "รูปแบบการพัฒนานักเรียนระดับประถมศึกษาให้มีจิตสาธารณะ : การศึกษาระยะยาว". เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเนื่องในวันสถาปนาสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ครบรอบ 49 ปี , พ.ศ.2547. หน้า 1 – 3.
[5] สมพงษ์ สิงหะพล. "ต้องสอนให้เกิดจิตสำนึกใหม่". วารสารสีมาจารย์, 13(27), พ.ศ.2542, หน้า 15 – 16.
[6] ปรีชา คำมาดี และประสพชัย พสุนนท์. "ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดระยอง". วารสารวิจัยรำไพพรรณี จันทรบุรี. 7(2), พ.ศ.2558, หน้า 27-40.
[7] สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. คู่มือผู้ประเมินเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ระดับอุดมศึกษา (พ.ศ.2554-2558). กรุงเทพฯ,สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), พ.ศ.2555.
[8] ชินภัทร ภูมิรัตน. แนวคิดการจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21. [Online]. Available: จาก http://www.oknation.net/blog/niwat/2013/07/25/entry-1 [2556, สิงหาคม 9]. , พ.ศ. ม.ป.ป.
[9] สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. โครงงาน : การเรียนรู้ที่ลุ่มลึก. เอกสารปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ลำดับที่ 16. คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, พ.ศ.2543.