การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องจ่ายคลอรีนจากปริมาณน้ำ

Main Article Content

สุธีร์ ก่อบุญขวัญ
โกมล เทโหปการ
จิรพล บุญยัง

บทคัดย่อ

บทความนี้การวิจัยเรื่อง การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องจ่ายคลอรีนจากปริมาณน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง และเพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจ่ายคลอรีนจากปริมาณน้ำ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย ศึกษาและรวบรวมข้อมูล ออกแบบ สร้าง และทดสอบเครื่องจ่ายคลอรีนจากปริมาณน้ำ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ผลการทดลองเปรียบเทียบค่าที่คำนวณได้  โดยใช้การหาค่าเฉลี่ย และเปอร์เซ็นต์ความถูกต้อง ผลการวิจัยพบว่าเครื่องจ่ายคลอรีนจากปริมาณน้ำ  มีขนาดความกว้าง 20  เซนติเมตร ความยาว 35 เซนติเมตร ความสูง 55 เซนติเมตร มีช่องป้อนน้ำเข้า 1 ช่อง มีช่องป้อนคลอรีนเข้า 1 ช่อง  มีช่องจ่ายคลอรีนออก 1 ช่อง และช่องจ่ายน้ำที่ผสมคลอรีนแล้ว 1 ช่อง มีส่วนประกอบสำคัญ คือ ไมโครคอนโทรลเลอร์ เซนเซอร์วัดการไหล และปั๊มแรงดันสูง มีแรงดัน 4.8 บาร์ 31 วัตต์ มีระบบการทำงาน 2 ระบบ 
1) ระบบการจ่ายคลอรีนผสมกับน้ำแบบอัตโนมัติตามปริมาณน้ำที่ต้องการ ใช้เซนเซอร์วัดการไหลของน้ำส่งสัญญาณพัลส์ออกมายังไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อคำนวณปริมาณน้ำที่เข้ามา และสั่งจ่ายคลอรีนผ่านปั๊มแรงดันสูง ในอัตราส่วนที่ตั้งไว้  ซึ่งมีค่าความถูกต้องในระดับสูง คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องเฉลี่ย เท่ากับ 98.18%  และคลอรีนอิสระคงเหลือเฉลี่ย เท่ากับ 1.03 มิลลิกรัมต่อลิตร 
2)ระบบการจ่ายคลอรีนจากปริมาณน้ำที่กำหนด ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์สั่งจ่ายคลอรีนผ่านปั๊มแรงดันสูง ในปริมาณที่กำหนด ซึ่งมีค่าความถูกต้องในระดับสูง คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องเฉลี่ย เท่ากับ 96.50% และคลอรีนอิสระคงเหลือเฉลี่ย เท่ากับ 0.52 มิลลิกรัมต่อลิตร 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] มั่นสิน ตัณฑุลเวศน์, “คู่มือวิเคราะห์คุณภาพน้ำ”,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 2, พ.ศ.2540.
[2] สาวิตรี คงยืน, “ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคในระบบประปาหมูบ้าน”, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาลัยมหิดล, พ.ศ.2544.
[3] ธีรวิทย์ ปูผ้า, ยิ่งเจริญ คุสกุลรัตน์ และวรพจน์ กนกกันฑพงษ์, “ปัญหาคลอรีน คลอไรด์ ในน้ำประปาที่ใช้ในอุตสาหกรรมและแนวทางการแก้ไข”, วารสาร มฉก. วิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 8, ฉบับที่ 16, พ.ศ.2548.
[4] พิเชฐ พิศภา, “การฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน”, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา, พ.ศ.2542.
[5] เอกชัย มะการ, “ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR ด้วย Arduino”, บริษัท อีทีที จำกัด, พ.ศ.2552.