การพัฒนาเครื่องค้นฝ้ายมัดหมี่ระบบอัตโนมัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาเครื่องค้นฝ้ายมัดหมี่อัตโนมัติได้ประยุกต์วิธีการจากภูมิปัญญาชาวบ้านให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่โดยนำไมโครคอนโทลเลอร์มาควบคุมการทำงาน โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า AC ขนาด 500W เป็นต้นกำลังของเครื่องค้นฝ้ายมัดหมี่ซึ่งถูกควบคุมความเร็วในการหมุนด้วยไมโครคอนโทลเลอร์ทำให้ระบบกินกระแสไฟฟ้าที่ต่ำ ทั้งนี้ได้ออกแบบเฟืองทดรอบที่มีความแข็งแรงสามารถถอดประกอบกับกงล้อได้ง่าย ติดตั้งเซนเซอร์อินฟาเรดไว้ที่จุดหมุนของกงล้อเก็บเส้นด้ายให้ตรวจนับจำนวนรอบการหมุนการขยับตำแหน่งของหัวจ่ายเส้นด้ายนั้นใช้มอเตอร์แบบ Stepping Motor เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งหัวจ่ายเส้นด้ายจะวิ่งบนรางสไลด์ทีทมีความยาวขนาด 100 cm ทำให้สามารถควบคุมจำนวนรอบเส้นด้ายและระยะเส้นได้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้งานเครื่องสามารถที่จะป้อน จำนวนรอบ ระยะการขยับแต่ละช่วง และ จำนวนกลุ่มเส้นด้าย ที่จะจัดเรียงบนกงล้อค้นฝ้ายสำหรับทำมัดหมี่ได้ด้วยตนเอง
ในขั้นตอนการจัดเครียมเส้นด้ายยั้ยมีความสำคัญโดยตรงกับลวดลายสวยงามที่จะเกิดขึ้นบนผืนผ้ามัดหมี่ เครื่องค้นฝ้ายมัดหมี่อัตโนมัติจะช่วยลดต้นทุนการผลิต และช่วยเพิ่มมูลค่าของผืนผ้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
Article Details
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมืองไทย.
[2] วัชชัย อัตถวิบูลย์กุล, ประสิทธิ์ นางทิน,
อุทัย มั่นวงศ์. (2556). การควบคุมมอเตอร์
ไฟฟ้า. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมืองไทย.
[3] วิเชียร อุปแก้ว. (2559). คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี :
[4] สุธน แก่นต้น. (2556). เครื่องกลไฟฟ้า
กระแสตรง. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมืองไทย.
[5] ทีมงาน SmartLearning " Pic
ไมโครคอนโทรลเลอร์ ด้วยภาษา C " ครั้งที่ 1
พ.ศ.2554.