การศึกษาประสิทธิภาพอุปกรณ์คลายเส้นกล้ามเนื้อขา

Main Article Content

ปิยะ บรรพลา
สมพงษ์ ปาภา
และคธายุทธ เหล่าสะพาน

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจอุปกรณ์คลายเส้นกล้ามเนื้อขา  เพื่อให้ได้เกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับ (ดี) หรือไม่น้อยกว่า 3.50 จากเกณฑ์การประเมินคุณภาพ 5 ระดับ  การศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจอุปกรณ์คลายเส้นกล้ามเนื้อขาในครั้งนี้เพื่อคิดค้น และออกแบบสร้างอุปกรณ์เพื่อช่วยบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบบริเวณกล้ามเนื้อขา อุปกรณ์คลายเส้นกล้ามเนื้อขา ผลิตจากสแตนเลส (stainless steel) มีขนาดความกว้าง 54 เซนติเมตร ยาว 43 เซนติเมตร สูง 130 เซนติเมตร สามารถถอดแยกโครงกับฐานเครื่องออกจากกันได้ มีหลักการทำงานคือพื้นจะถูกยกปรับระดับด้วยแม่แรงซึ่งเกิดจากการหมุนของมอเตอร์กระจกรถยนต์ ระดับองศาของพื้นสามารถปรับระดับได้ 4 ระดับ คือ 25° , 30° , 35° และ 40° อุปกรณ์คลายเส้นกล้ามเนื้อขา สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบกล้ามเนื้อขา โดยใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยทำกายภาพบำบัดฟื้นฟู หรือใช้เป็นอุปกรณ์ยืดคลายเส้นกล้ามเนื้อขาก่อนและหลังการออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยป้องกันหรือลดอาการอักเสบ และลดความเมื่อยล้าบริเวณกล้ามเนื้อขาลงได้


            ผลการประเมินหาประสิทธิภาพของอุปกรณ์คลายเส้นกล้ามเนื้อขา มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.592 และการประเมินหาความพึงพอใจต่ออุปกรณ์คลายเส้นกล้ามเนื้อขา          มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.668 และเมื่อวิเคราะห์ผลทางสถิติแล้ว         มีคะแนนเฉลี่ยรวมทั้ง 2 ด้าน เท่ากับ 4.31 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.630 จากเกณฑ์การประเมิน 5 ระดับ มีระดับคุณภาพ มาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. ชมรมเด็ก กรุงเทพฯ.
[2] อนันต์ วงศ์กระจ่าง. (2533). ออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
[3] อรรณฤมล พูลศิริ. (2546). กลศาสตร์วิศวกรรม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. เอมพันธ์ กรุงเทพฯ.
[4] http://202.44.43.94/Projeck/PJ05/chapture%202.pdf
[5] http://www.thairice.org/html/aboutrice/about_rice5.htm