การพัฒนาเครื่องแยกเส้นใยจากกาบมะพร้าว

Main Article Content

พรชัย แย้มบาน
มณเทียร พลศรีลาภ
วิเชียร สุวรรณพล

บทคัดย่อ

       โครงงาน เครื่องแยกเส้นใยจากกาบมะพร้าว   นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่อง โดยเครื่องแยกเส้นใยจากกาบมะพร้าวที่ได้ จัดสร้างขึ้นนี้จะเน้นถึงสมรรถนะของการตีกาบมะพร้าว ใช้ในการตีแยกเส้นใยมะพร้าวและขุยมะพร้าว โดยเครื่องแยกเส้นใยจากกาบมะพร้าวที่สร้างขึ้น มีขนาดความกว้าง 500  ความยาว 1000  ความสูง 1183  ผู้จัดทำการวิจัยได้ทำการทดสอบสมรรถนะแล้วเก็บข้อมูลโดยทำการบันทึกปริมาณงานที่ได้จากการใช้เครื่องแยกเส้นใยจากกาบมะพร้าว การประเมินเครื่องแยกเส้นใยจากกาบมะพร้าว โดยทำการประเมินด้วยผู้เชี่ยวชาญ จานวน5 ท่าน ซึ่งจะประเมินใน 2 ด้านคือ 1) ด้านการใช้งานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และ 2) ด้านการออกแบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 จากการประเมินทั้ง 2 ด้านพบว่าได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเฉลี่ยเท่ากับ 0.49 ซึ่งอยู่ในระดับที่พอดีกับระดับ 3.50-4.49 (ระดับมาก) ที่กำหนดไว้ และผลจากการทดสอบหาสมรรถนะโดยจะทดสอบ 4 ครั้ง ได้น้ำหนักใยมะพร้าวเฉลี่ย 42.65 กิโลกรัม/ชั่วโมง และได้น้ำหนักขุยมะพร้าวเฉลี่ย 55.62 กิโลกรัม/ชั่วโมง โดยเฉลี่ยน้ำหนักรวมของใยและขุยมะพร้าวในการทดสอบทั้ง 4 ครั้งได้ว่าน้ำหนักรวมเท่ากับ 98.27 กิโลกรัม/ชั่วโมง จากสมมติฐานที่ตั้งไว้สามารถตีแยกได้ปริมาณไม่น้อยกว่า 80 กิโลกรัมต่อชั่วโมงความสอดคล้องกันกับการทดสอบ สรุปผลการประเมินและทดสอบสมรรถนะแล้วสามารถนาไปใช้งานต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] จารุวัฒน์ มงคลธนาทรรศ , และวีระ
สุขประเสริฐ. (2536). กลุ่มงานทดลองและ
พัฒนาเครื่องจักรกลเครื่องจักรกลเกษตร ,
กองเกษตรวิศวกรรมเขต5 จังหวัดขอนแก่น.
[2] จันทรา ประเสริฐสกุล. (2539). สถิติ 1 , พิมพ์
ครั้งที่ 1, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขต
ขอนแก่น.
[3] ชลัท อุยถาวรยิ่ง. (2551). ชิ้นส่วนเครื่องกล.
พิมพ์ครั้งที่ 1 (ฉบับปรับปรุง), สานักพิมพ์
เอมพันธ์.
[4] ชนะ กสิภาร์. (2528). ความแข็งแรงของวัสดุ,
พิมพ์ครั้งที่ 9, โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ .
[5] บรรเลง ศรนิล , และกิตติ นิงสานนท์. (2524).
การคำนวณและการออกแบบเครื่องกล ,
สานักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ.
[6] บรรเลง ศรนิล, และประเสริฐ ก๊วยสมบูรณ์.
(2524). ตารางโลหะ, พิมพ์ครั้งที่ 1, โรงพิมพ์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[7] มงคล ทองสงคราม. (2535). เครื่องกลไฟฟ้า
กระแสสลับ. กรุงเทพ ฯ : รามาการพิมพ์,
“มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ,”
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://edu.e-
tech.ac.th/ mdec /learning/e-web
/sara03.htm, 2010. (18/01/53)
[8] วริทธิ์ อิ๊งภากรณ์, และชาญ ถนัดงาน. (2531).
การออกแบบเครื่องจักรกล , พิมพ์ครั้งที่ 7 ,
ซีเอ็คยูเคซั่น จากัด.
[9] วาสนา วงษ์ใหญ่. (2525). พฤกษศาสตร์พืช
เศรษฐกิจ. มะพร้าว. ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรม
การเกษตรแห่งชาติ มก. วิทยาเขตกาแพงแสน
จังหวัดนครปฐม หน้า 118-126.
[10] ศักดิ์นรินทร์ บุพศิริ และ ศิริพร สิริสวย.
(2550). การพัฒนาเครื่องสับกาบมะพร้าวเพื่อ
เพิ่มประโยชน์ใช้งานและประสิทธิภาพในการ
ผลิต. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น.