การปฏิรูปการบริหารงบประมาณสถาบันการอาชีวศึกษา

Main Article Content

นิยม ศรีวิเศษ

บทคัดย่อ

รัฐบาลได้กำหนดโมเดลประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ ดังนั้นประชาชนทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมเท่าเทียมและมีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต เข้าถึงการศึกษาในทุกระดับ ยึดคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันกับนานาชาติ ดังนั้นการพัฒนากำลังคนต้องให้สอดคล้องกับโลก          ในศตวรรษที่ 21 ใน 4 มิติ คือ  1) เป็นคนไทยที่มีความรู้  2) เป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ        3) เป็นคนไทยที่มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย และ 4) เป็นคนไทยที่สอดรับกับการเข้าสู่โลกยุคดิจิทัล ดังนั้นประเทศไทยจึงจำเป็นต้องพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ สามารถขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมายที่สำคัญ คือ ประเทศมั่งคง มั่นคง ยั่งยืน


ประเทศไทย 4.0 โมเดลใหม่ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยที่มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม(Value–Based Economy) เพื่อก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง          เมื่อบริบททางเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตต้องปรับตัว เพื่อให้ธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถเติบโตท่ามกลางบริบทใหม่ทางเศรษฐกิจได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน


สำหรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อก้าวสู่การเป็น ประเทศไทย 4.0 นั้น จะต้องเปลี่ยนจากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลาย        เชิงวัฒนธรรมไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ขณะเดียวกันยังต้องเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่า (Value Added) ไปสู่การสร้างมูลค่า (High Value) หรือการสร้างผลิตภัณฑ์ (Productivity) นั่นเอง


ทั้งนี้ การขับเคลื่อนโครงสร้างเศรษฐกิจแบบใหม่ดังกล่าว ต้องเติมเต็มด้วยวิทยาการความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา โดยมุ่งเน้น 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้


วิจัยและพัฒนา โดยมุ่งเน้น 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้


                   กลุ่มที่ 1  กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture & Bio-Tech)


                   กลุ่มที่ 2  กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness & Bio-Med)


                   กลุ่มที่ 3  กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกล ที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม (Smart Devices, Robotics & Mechatronics)


                   กลุ่มที่ 4  กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ  ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital, Internet of Things, Artificial Intelligence & Embedded Technology)


                   กลุ่มที่ 5  กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services)


           โดยทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” หรือ    S-Curve และ New S-Curve

Article Details

บท
บทความพิเศษ