การศึกษาการแก้ปัญหาการไหม้ของฉนวนหุ้มสายอลูมิเนียมจุดต่อหางปลาทองแดง

Main Article Content

สุรพล ช่วยดำรงค์
วรพงษ์ ภาราทอง

บทคัดย่อ

       การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและแก้ปัญหาการไหม้ของฉนวนหุ้มสายอลูมิเนียมบริเวณจุดต่อหางปลา เริ่มจากการศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาการไหม้ของฉนวนหุ้มสายอลูมิเนียมบริเวณหางปลา โดยการสร้างชุดทดลองการเกิดรอยไหม้ของฉนวนหุ้มสายอลูมิเนียมบริเวณหางปลา โดยจัดทำเป็น 2 ชุด ชุดแรกต่อสายอลูมิเนียมกับสายทองแดงก่อนต่อเข้ากับหางปลาก่อนเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้า ชุดที่สองต่อสายอลูมิเนียมกับ  หางปลาโดยตรงก่อนเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้า จากนั้นนำชุดทดลองไปทดสอบใช้งานกับงานที่มีปัญหาการเกิดรอยไหม้ของฉนวนหุ้มสายอลูมิเนียม  เพื่อเปรียบเทียบความร้อนในสภาวะที่มีโหลดการใช้งานและเวลาที่เท่าเทียมกัน แล้วนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบค่าความร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณจุดต่อหางปลา และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการแก้ไขปัญหาการไหม้ของฉนวนหุ้มสายอลูมิเนียม สรุปผลที่ได้คือค่าความร้อนของระบบที่ต่อสายทองแดงกับหางปลาก่อนเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้า มีค่าน้อยกว่าระบบที่ต่อสายอลูมิเนียมกับหางปลาโดยตรงก่อนเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้า  ความพึงพอใจด้านการออกแบบอยู่ในระดับดี    มีค่าเฉลี่ย 4.13 ด้านการใช้งานอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 3.70 และด้านโครงสร้างทั่วไปอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.08

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ชลชัย ธรรมวิวัฒนุกูล. (2546). การออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า, สำนักพิมพ์ บริษัท เอ็ม แอนด์อี จำกัด, กรุงเทพ ฯ.
[2] ชวลิต ดำรงรัตน์. (2546). การส่งและจ่ายไฟฟ้า, จำกัด ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพ ฯ.
[3] ลือชัย ทองนิล. (2541). การออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าตามมาตรฐาน, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), กรุงเทพฯ.
[4] ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช. (2544). การออกแบบระบบไฟฟ้า, ซีเอ็ด ยูเคชั่น, กรุงเทพฯ .
[5] ไชยะ แช่มช้อย. (2544). คู่มือการลดค่าไฟฟ้า, ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ .
[6] ศุลี บรรจงจิตร. (2544). หลักการและเทคนิคการออกแบบระบบไฟฟ้า, ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ.
[7] ธนบูรณ์ ศศิภานุเดช. (2544). การออกแบบระบบไฟฟ้า, ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ.