การสร้างเครื่องสีข้าวกล้องสำหรับชุมชน พลังงานแสงอาทิตย์

Main Article Content

รุ่งสว่าง บุญหนา

บทคัดย่อ

       การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องสีข้าวกล้องสำหรับชุมชน พลังงานแสงอาทิตย์ 2) ประเมินคุณภาพของเครื่องสีข้าวกล้องสำหรับชุมชน พลังงานแสงอาทิตย์ 3) ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ 4) เพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน   5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชาวนาที่มีต่อการใช้งานของเครื่องสีข้าวกล้องสำหรับชุมชน พลังงานแสงอาทิตย์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้เป็นกลุ่มชาวนาจากบ้านยางชุมน้อย ตำบลยางชุมน้อย อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 10 คน เลือกแบบเจาะจงสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบประเมินคุณภาพ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือสถิติพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพในการสีข้าวกล้อง ปริมาณข้าวเปลือก 20 กิโลกรัม ได้ปริมาณข้าวกล้อง 16 กิโลกรัม การสูญเสียเปลือกข้าว 20 เปอร์เซ็นต์  ใช้เวลาในสีข้าวกล้อง 1 ชั่วโมง 2)  การประเมินคุณภาพเครื่องสีข้าวกล้องสำหรับชุมชน พลังงานแสงอาทิตย์  โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.38 อยู่ในระดับดี  ด้านการเลือกใช้วัสดุผลิต มีค่าเฉลี่ย 4.60 อยู่ในระดับดีมาก  ด้านประโยชน์และการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย 4.40 ด้านคุณสมบัติและโครงสร้างของเครื่องสีข้าวกล้องสำหรับชุมชนพลังงานแสงอาทิตย์  มีค่าเฉลี่ย 4.33 และด้านการออกแบบ มีค่าเฉลี่ย 4.20 อยู่ในระดับดี 3) การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์ 300 วัตต์ จำนวน 2 แผง กรณีแสงแดดจัดทั้งวัน 6 ชั่วโมง แผงโซลาร์เซลล์ รับแสงอาทิตย์ 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถผลิตไฟฟ้า 3,600 วัตต์ต่อวัน 4) เพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน การจัดเก็บพลังงานของแบตเตอรี่ ความจุของแบตเตอรี่ในการบรรจุพลังงาน 12 โวลต์ 35 แอมแปร์ จำนวน 2 ลูก เท่ากับ 70 แอมแปร์  ใช้เวลาในการชาร์ตจากแผงโซลาร์เซลล์ 1 ชั่วโมง 40 นาที 5) ความพึงพอใจของชาวนา จำนวน 10 คน ที่มีต่อการใช้งานของเครื่องสีข้าวกล้องสำหรับชุมชน พลังงานแสงอาทิตย์  โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.39 อยู่ในระดับดี  ด้านประโยชน์และการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย 4.50 ด้านคุณสมบัติและโครงสร้างของเครื่องสีข้าวกล้องสำหรับชุมชนพลังงานแสงอาทิตย์  มีค่าเฉลี่ย 4.40 ด้านการออกแบบ มีค่าเฉลี่ย 4.37  และด้านการเลือกใช้วัสดุผลิต มีค่าเฉลี่ย 4.30 อยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ภาณุวิชญ์ จันทร์ฝั้น และอุทัย นันทะเดช. (2550). “การพัฒนาเครื่องสีข้าวกล้องขนาดครอบครัว”, ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.
[2] วานิช สมชาติ. (2547). “การพัฒนาเครื่องสีข้าวกล้อง รุ่น YTC 5”, วิทยาลัยเทคนิคยโสธร.
[3] ประเวศ สมประสงค์และคณะ. (2558). “พัฒนาเครื่องสีข้าวขนาดเล็กพลังงานแสงอาทิตย์”, สิ่งประดิษฐ์ด้านการอนุรักษ์พลังงาน, วิทยาลัยสารพัดช่างกาญจนบุรี.
[4] ประวิช บุญเจริญและเอกชัย นามวงค์. (2555). “จักรยานออกกำลังผลิต ไฟฟ้า”,วิชาโครงการตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขางานติดตั้งไฟฟ้า สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง,
[5] ประชา พรหมศิริ และคณะ. (2542).“การสร้างและหาประสิทธิภาพ เครื่องสีข้าวกล้องขนาดครัวเรือน”, รายงานการค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม. (อุตสาหกรรมศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร.