การเพิ่มขีดความสามารถและทักษะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและบริการเพื่อรองรับ ภาวะการจ้างงานในระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดกระบี่และพังงา

Main Article Content

เจิดฤดี ชินเวโรจน์

บทคัดย่อ

       การศึกษาในแผนงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะการจ้างงานและความต้องการบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและบริการศึกษาการพัฒนาขีดความสามารถหลักของบุคลากรทางการท่องเที่ยวและบริการในสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดกระบี่และพังงา ศึกษาการพัฒนาทักษะวิชาชีพของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและบริการในสถานศึกษาอาชีวศึกษา และนำเสนอแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถและทักษะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและบริการเพื่อรองรับภาวะการจ้างงานในระดับอาชีวศึกษา ในจังหวัดกระบี่และพังงา  แผนงานวิจัยได้ดำเนินการจัดประชุมร่วมกับผู้ที่มีส่วนได้เสียเพื่อตรวจสอบข้อมูลและร่วมกำหนดทิศทางในการพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจโรงแรมและที่พักเป็นสถานประกอบการด้านการท่องและบริการในจังหวัดกระบี่และพังงา ที่มีความต้องการรับบุคลากรใหม่มากที่สุด โดยคุณสมบัติของแรงงานที่ต้องการมากที่สุดนั้นเกี่ยวข้องกับทักษะและความสามารถในการทำงานในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นผู้ที่มีความไฝ่รู้และต้องการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่พบคือ พนักงานรุ่นใหม่ไม่มีความอดทน สำหรับการคัดเลือกผู้บริหารระดับกลางจะเลือกจากประสบการณ์และความสามารถเป็นหลัก โดยงานวิจัยนี้ดำเนินการศึกษาขีดความสามารถหลักของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและบริการ


       ผลการวิจัย พบว่า จิตสำนึกในการให้บริการ การบริการแบบไทย และการใส่ใจกับสุขลักษณะและความปลอดภัยในการท่องเที่ยว เป็นขีดความสามารถหลักที่สำคัญของบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งในมุมมองของครูผู้สอน ศิษย์เก่าและผู้เรียนพบว่า สถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดกระบี่และพังงามีความพร้อมค่อนข้างมาก เช่นเดียวกันกับทักษะวิชาชีพที่มีความแตกต่างกันตามตำแหน่งงาน และสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดกระบี่และพังงามีความพร้อมในการพัฒนาทักษะวิชาชีพมากเช่นเดียวกัน โดยแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถและทักษะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและบริการเพื่อรองรับภาวะการจ้างงานในระดับอาชีวศึกษา ในจังหวัดกระบี่และพังงาเกี่ยวข้องกับ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างการรับรู้และเข้าใจให้กับผู้บริหารเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินการที่ชัดเจน และด้านการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการพัฒนาด้านการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). สถิติรายได้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://marketingdatabase.tat.or.th/ewtw3c/ewt_news.php?nid=1621.
[2] ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ สมจินตนา คุ้มภัย ปิยะ ปานผู้มีทรัพย์ สุชาติ ฉันสำราญ และวิลาวัณย์ ดึงไตรย์ภาพ. (2558). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาลและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่. รายงานการวิจัย ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย.
[3] สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2554). มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพกลุ่มบริการ : กลุ่มอาชีพโรงแรมและภัตตาคาร Hotel and Restaurant. กรุงเทพฯ.


[4] สถาบันพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยว.
มาตรฐานสมรรถนะร่วมวิชาชีพสำหรับการ
ท่องเที่ยวอาเซียน ASEAN Common
Competency Standards for Tourism
Professionals. กรุงเทพฯ : กระทรวงการ
ท่องเที่ยวและกีฬา.
[5] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีศึกษา.
(2554). สมรรถนะวิชาชีพด้านโรงแรมและ
ภัตตาคาร ภายใต้โครงการบริหารจัดการ
สถาบันคุณวุฒิวิชชีพ ตามบทเฉพาะกาล
มาตรา 45 แห่งพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งสถาบัน
คุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554
ภายใต้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาใน
ศตวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) : ปฏิรูป
อาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554.
ม.ป.พ.
[6] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554).
รายงานการวิจัย เรื่อง การวิจัยและพัฒนา
กรอบคุณวุฒิแห่งชาติและวางแผนผลิตและ
พัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ.
กรุงเทพมหานคร : พริกหวาน กราฟฟิค.
[7] เอกพล วงศ์เสรีและคณะ. (2556). การพัฒนา
สมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจ
บริการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับประชาคม
อาเซียนกรณีศึกษากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดา
มัน : ระนองพังงาภูเก็ตกระบี่และตรัง.
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.