รายงานการออกแบบสร้างและพัฒนาชุดการสอน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105-2004 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556

Main Article Content

อังคณา อัตถาพร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อออกแบบสร้างชุดฝึกมัลติมิเตอร์ชนิดแอนะลอกที่มีระบบป้องกัน  2) เพื่อออกแบบสร้างชุดฝึกดิจิตอลติมัลมิเตอร์แบบปรับเลือกพิสัยที่มีระบบป้องกัน  3) เพื่อออกแบบสร้างชุดฝึกดิจิตอลมัลติมิเตอร์แบบปรับเลือกพิสัยอัตโนมัติที่มีระบบป้องกัน  4)  เพื่อออกแบบสร้างชุดฝึกการใช้งานมัลติมิเตอร์และทดลองขยายพิสัยการวัดแอนะลอกมัลติมิเตอร์  5) เพื่อออกแบบสร้างชุดฝึกมาตรวัดกำลังไฟฟ้าและอิมพีแดนซ์เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  6) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอน วิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  รหัสวิชา 2105-2004 ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 7) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  ที่เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนโดยใช้ชุดการสอนวิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105-2004 ก่อนเรียนและหลังเรียน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียน ปวช.1 กลุ่ม 1 จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2560 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย 1)  ชุดการสอน วิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105-2004 จำนวน 15  หน่วย  2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการรู้โดยใช้ชุดการสอน วิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 2105-2004 ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้ชุดการสอนวิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์


 ประกอบด้วยชุดฝึก จำนวน 5 เครื่อง 2)  ประสิทธิภาพของชุดการสอน  วิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์   รหัสวิชา 2105–2004 มีค่าเฉลี่ย E1/Eเท่ากับ  84.33/85.17  3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน  วิชาเครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์   รหัสวิชา 2105–2004  มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ  22.77  และค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ  51.10 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. หลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชา
อุตสาหกรรม, 2556.
[2] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ. (2555).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. วันที่ค้น ข้อมูล 1 มีนาคม
2555, เข้าถึงได้จาก http: // www.nesdb.go.th/
Default.axpx? tabid395
[3] กิตติภพ ไกรเพชร. ชุดการสอนการทำงานของ
เซนเซอร์เครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล. ครุศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2555.
[4] สุชาดา ถึกสถิต. การพัฒนาชุดการสอนรายบุคคล
วิชาโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ เรื่องโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ทางด้านฮาร์ดแวร์ สําหรับนักศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคระยอง จังหวัดระยอง. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช. 2557.
[5] สุเมธ แย้มชุติ. การพัฒนาชุดการสอนวิชางาน
วัดละเอียดช่างยนต์ นักเรียนระดับ
ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชายานยนต์
วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู. สาขาวิชาเครื่องกล สาขา
งานยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู, รายงาน
การวิจัย. 2557.
[6] ทรงธรรม ดีวาณิชสกุล และคณะ.การพัฒนาและ
หาประสิทธิภาพชุดการสอนสมรรถนะรายวิชา
“วิชาคณิตศาสตร์ยานยนต์” หลักสูตรประกาศนียบัตร
วิชาชีพ (ปวช.) สำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา. บทความวิจัย ภาควิชาครุศาสตร์
อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
2559.
[7] สมบัติ ท้ายเรือคำ. เอกสารประกอบการสอนวิชา
การวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. ภาควิชาวิจัยและพัฒนา
การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
2547.
[8] บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2545.
[9] เผชิญ กิจระการ. “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและ
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” วารสารการวัดผลการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7, 7 (กรกฎาคม 2544).