ชุดโหลดชิ้นงานเข้าระบบอัตโนมัติ ชุดโหลดชิ้นงานเข้าระบบอัตโนมัติ

Main Article Content

สิทธิไชย สิงห์มหาไชย
บัญชา สวัสดิ์ทรัพย์
ธนาวัฒน์ บุตรศรี
จิระพจน์ ประพิน

บทคัดย่อ

ชุดโหลดชิ้นงานเข้าระบบอัตโนมัติ  มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดโหลดชิ้นงานเข้าระบบอัตโนมัติ เนื่องด้วยมีความต้องการให้ออกแบบและสร้างเครื่องยกชิ้นงานเข้าระบบอัตโนมัติ ซึ่งเดิมชุดยกชิ้นงานเข้าระบบ ประสบปัญหาคือ 1. ไม่เหมาะแก่การใช้งานเนื่องด้วยทำงานในระบบกึ่งอัตโนมัติ 2. โครงสร้างไม่มั่นคงแข็งแรงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ทำให้มีความต้องการสร้างชุดโหลดชิ้นงานเข้าระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ คือ สามารถโหลดชิ้นงานเข้าสายการผลิตได้ 7 ชิ้นภายในเวลาไม่เกิน 600 วินาทีด้วยขนาดของชุดโหลดชิ้นงานเข้าระบบอัตโนมัติ กว้าง 760 mm. ยาว 830 mm. สูง 1840 mm. ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ และกระบอกลม ควบคุมการทำงานด้วย PLC Panasonic FP0R  ใช้เซ็นเซอร์แสง รุ่น EX-22A, EX-13A, CX-424 ใช้จอ HMI ในการแสดงผลการทำงานที่สามารถทำงานได้ เพียงกดปุ่ม Touch screen ที่หน้าจอ HMI ด้วยมูลค่ามากกว่า 4.5 แสนบาท เมื่อทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดโหลดชิ้นงานเข้าระบบอัตโนมัติพบว่า เวลาในการดึงชิ้นงานเข้าสายการผลิตครบทั้ง 7 ชั้น ใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 485 วินาที S.D.= 9.27 จึงสามารถกล่าวได้ว่าชุดโหลดชิ้นงานเข้าระบบอัตโนมัติมีประสิทธิภาพตามที่ได้ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รศ.วิศรุต ศรีรัตนะ, เซนเซอร์และทรานสดิวเซอร์ในงานอุตสาหกรรม, ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.พิศนุรัตน์ เขจร, พ.ศ.2556.

ไชยชาญ หินเกิด, มอเตอร์ไฟฟ้าและการควบคุม, ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), สมาคม, พ.ศ.2560 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 ธันวาคม 2561] .จาก https://goo.gl/kNZsRF.

โฟโต้อิเล็กทริค คืออะไร, 2560, [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2561] . จาก https://goo.gl/GhiUqf.

กระบอกลม กระบอกสูบ, 2562, [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562] . จาก https://goo.gl/w6DGxw.

DC Series Motor, 2009, [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2560]. จาก https://goo.gl/w6DGxw.