ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจสอบงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการตรวจสอบบัญชีเข้ามามีบทบาทในการประกอบธุรกิจอย่างมากเพราะธุรกิจต่างๆ ต้องการความน่าเชื่อถือจากการตรวจสอบงบการเงินทำให้ผู้ประกอบการให้ความสนใจในการสอบบัญชีเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีทั้งบุคคลภายนอกและบุคคลภายในที่ต้องการทราบกำไร-ขาดทุนของกิจการเพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจในด้านต่างๆ ผู้สอบบัญชีนั้นจะต้องจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีกำหนด ซึ่งผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องรายงานเกี่ยวกับสิ่งที่ตรวจพบการที่จะจัดทำรายงานได้นั้นต้องได้มาซึ่งหลักฐานที่เพียงพอและเหมาะสมด้วยวิธีการและเทคนิคการสอบต่างๆ เพื่อประกอบการสอบบัญชี เพื่อทราบถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจสอบงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
ผลวิจัยพบว่าการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจสอบงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ ดังนี้
- 1. ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 46-55 ปีมีประสบการณ์ทำงาน 10 ปีขึ้นไป สถานที่ทำงานในปัจจุบันเป็นสำนักงานตรวจสอบบัญชี/
ทำบัญชีเป็นผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชีในฐานะผู้สอบบัญชีภาษีอากรในรอบปีที่ผ่านมา
- 2. ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีข้อมูลทั่วไปในการตรวจสอบและรับรองบัญชี คือ ส่วนใหญ่แจ้งรายชื่อลูกค้าตามแบบ บภ.07 มีการติดต่อรับงานโดยลูกค้าติดต่อมาเองก่อน
จะรับงานผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าจากข้อมูลงบการเงินเพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานเมื่อมีความเสี่ยงเกิดขึ้นจะใช้วิธีในการแก้ไขรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
โดยอธิบายข้อยกเว้นที่สำคัญ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรมีผู้ช่วยจำนวน 1 – 3 คน และมีการวางแผนจัดทำแนวทางการตรวจสอบบัญชีโดยการจัดทำกระดาษทำการเฉพาะที่สำคัญและจำเป็น
- 3. ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเห็นต่อปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจสอบงบการเงินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ตามรายด้าน
คือ ด้านจรรยาบรรณ ด้านรายงานการตรวจสอบ ด้านการควบคุมภายใน ด้านการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน และน้อยที่สุดด้านการรับงาน
Article Details
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
ของผู้สอบบัญชีภาษีอากร. [ระบบ
ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก
http://www.rd.go.th/publish/ 22778.0.html (สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2561).
กรมสรรพากร. (2561). ความรู้เกี่ยวกับ
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร. [ระบบออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก http://www.rd.go.th /publish/7247.0.html (สืบค้นวันที่ 2
เมษายน 2561).
กรมสรรพากร. (2561). รายชื่อผู้สอบบัญชี
ภาษีอากร. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้
จาก http://taxaudit.rd.go.th/ ta2/TaxAuditor_06.jsp
(สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2561).
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.
พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543.
[ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.dbd.go.th/ ewt_news.php?nid=1078
(สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2561).
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547.
[ระบบออนไลน์]. ข้าถึงได้จาก
https://www.dbd.go.th/ ewt_news.php?nid=1103&filename=law
(สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2561).
ขนิษฐา พิภพลาภอนันต์. (2546). ปัญหา
ในการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี
ภาษีอากร. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
จักรพงษ์ รัตนะ. (2548). ปัญหาและ
อุปสรรคในการปฏิบัติงานของสำนักงาน
บัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิต
วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จันทิมา อุ้มชูวัฒนา. (2554). ปัจจัยที่ใช้
พิจารณารับงานทำบัญชีของสำนักงาน
ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร.
หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต, คณะพาณิชย
ศาสตร์และการบัญชีหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
ดารณี เอื้อชนะจิต. (2556).ปัจจัยที่ส่งผล
กระทบต่อความสำเร็จทางการสอบบัญชี
ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศ
ไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
แดน กุลรูป. (2548). การศึกษาข้อบกพร่อง
ในการจัดทำบัญชีจากการตรวจสอบ
บัญชีของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตาม
โครงการการตรวจสอบบัญชีร่วมกับ
สถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัด
ลำปาง. หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรรณิภา แจ้งสุวรรณ. (2547). การศึกษา
การใช้ปัจจัยและองค์ประกอบความเสี่ยง
ในการประเมินความเสี่ยงในการ
ตรวจสอบของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต.
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์.
มณฑิรา กิจสัมพันธ์วงศ์.(2550). ผลกระทบ
ของเทคนิคการสอบบัญชีและมารยาท
ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีต่อคุณภาพ
การสอบบัญชี. วิทยานิพนธ์บัญชี
มหาบัณฑิตมหาสารคาม, มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
วีรณา ตริณะประกิจ. (2552). ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ทำให้
คุณภาพงานสอบบัญชีลดลง.
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
สุมินทร์ เป้าธรรม. (2559). จรรยาบรรณ
วิชาชีพบัญชี มุมมองผู้สอบบัญชีรับ
อนุญาตและภาษีอากรในประเทศไทย.
สกลนคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลอีสานเหนือ วิทยาเขต สกลนคร.
อันธิกา สังข์เกื้อ. (2554). ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้
บริการสำนักงานสอบบัญชีของบริษัท
จำกัดในเขตกรุงเทพมหานคร. หลักสูตร
บัญชีมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์
และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัมรา เพียรบูชา.(2557). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ
ต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีของ
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขต
กรุงเทพมหานคร. หลักสูตรบัญชี
มหาบัณฑิต, คณะบัญชี มหาวิทยาลัย
ศรีปทุม.
อารีรัตน์ พันธุ์ไพโรจน์. (2558). ปัจจัยที่
ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ
สำนักงานสอบบัญชีของบริษัท แอคโฮม
ออดิท จำกัด. หลักสูตรปริญญา
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.