การประยุกต์ใช้ขี้เลื่อยในการลิตบล็อกประสานซีเมนต์ผสม

Main Article Content

สัญญา บุรา
สุภาพ เดชคำภู
จักรพงษ์ ศิริชัยราวรรณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำขี้เลื่อย, ใยมะพร้าว และกากมะพร้าว มาเป็นวัสดุงานวิจัย ในการพัฒนาบล็อก-ประสาน เพื่อลดการใช้วัสดุผสม  หาอัตราส่วนผสมบล็อกประสานผสมวัสดุเหลือใช้ที่เหมาะสม หาคุณสมบัติกำลังต้านทานแรงอัด และหาคุณสมบัติการดูดซึมน้ำ  โดยการเพิ่มวัสดุเหลือใช้ในปูนซีเมนต์ต่อทราย ตามอัตราส่วนผสม ซีเมนต์ : ทราย : ขี้เลื่อย, ใยมะพร้าว และกากมะพร้าว ในอัตราส่วน 1:2:0.1, 1:2:0.2, 1:2:0.3 ระยะเวลาในการบ่มก้อนทดสอบที่ 7, 14 และ 28 วัน จากการทดสอบอัตราส่วนที่มีกำลังต้านทานแรงอัดดีที่สุด คือ 1 : 2 : 0.1  ปูนซีเมนต์ : ทราย : (ขี้เลื่อย, ใยมะพร้าว และกากมะพร้าว) ได้กำลังต้านทานแรงอัดอยู่ที่ 62.64 ksc., 44.07 ksc., 58.07 ksc. ตามลำดับ และค่าการดูดซึมน้ำที่มีค่ามากที่สุดคืออัตราส่วน 1 : 2 : 3 ปูนซีเมนต์ : ทราย : (ขี้เลื่อย, ใยมะพร้าว และกากมะพร้าว) ได้ค่าการดูดซึมน้ำอยู่ที่ 9.72 %, 12.53 %, 10.56 % ตามลำดับ  พบว่าอัตราส่วนที่มีปริมาณวัสดุเหลือใช้มากขึ้น จะทำให้การต้านทานการรับกำลังอัดลดลง และอัตราส่วนผสมวัสดุเหลือใช้ที่มากขึ้น พบว่ามีอัตราการดูดซึมน้ำมากขึ้นด้วย การพัฒนาบล็อกประสานผสมวัสดุเหลือใช้ สามารถนำมาผลิตและใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้จริง ซึ่งได้นำวัสดุที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมไม้แปรรูปและการเกษตร มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ ช่วยในการลดปริมาณวัสดุเหลือใช้ที่อาจเป็นขยะในพื้นที่ชุมชน และเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมไม้แปรรูปและการเกษตร ทั้งนี้ยังเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา รวมทั้งผลิตเป็นวัสดุก่อสร้างประเภทอื่นได้อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรูญ เจริญเนตรกุล. ศึกษาอิฐบล็อกประสานที่มีส่วนผสมเถ้าและกะลาปาล์มน้ำมัน. วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 2557
นิพนธ์ ตันไพบูลย์กุล. ศึกษาการใช้ฝุ่นจากโรงโม่หินแทนที่ซีเมนต์ในการทำอิฐบล็อกประสาน. คณะ-สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ . มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2560
พงศ์ภูมิ ศรชมแก้ว. ศึกษาการผลิตอิฐบล็อกประสานจากกากอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 2555
วชิระ แสงรัศมี. การพัฒนาบล็อกประสานน้ำหนักเบาจากเยื่อกระดาษเหลือทิ้ง. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2555
วราทิตย์ กวางแก้ว. การผลิตบล็อกประสานที่ใช้วัสดุผสมระหว่างซีเมนต์ขาว และซีเมนต์เทา. โครงงานวิจัยหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2557
วราธร แก้วแสง. ศึกษาคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมของอิฐบล็อกประสานดินขาวที่ผสม ด้วยกลวิธีโพลิเมอร์ไรเซชั่น. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
สุวัฒน์ พาหุสุวัณโณ. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดคอนกรีตและและอายุคอนกรีต. วิจัยและพัฒนา ด้านวิศวกรรม. กรมชลประทาน, 2531
สำเร็จ สารมาคม. ศึกษาการประยุกต์ใช้เถ้าลอยในการผลิตบล็อกประสาน. สาขาวิศวกรรมโยธา.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2556
อาบีดีน ดะแซสาเมาะ. ศึกษาอิฐบล็อกประสานที่มีส่วนผสมของเถ้าไม้ยางพารา. วารสาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 2558: มกราคม – มิถุนายน.
ชูชัย สุจิรวกุล และพินัยศักดิ์ พรหมศร. บล็อกซีเมนต์ประสานที่ใช้เถ้าแกลบดำ เถ้าแกลบขาว หรือเถ้าชานอ้อยเป็นส่วนผสม. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการคอนกรีตแห่งชาติ ครั้งที่ 6. สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทยร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน. 20-22 ตุลาคม 2553, เพชรบุรี