การพัฒนาแผ่นซีเมนต์ผสมเส้นใยพืช

Main Article Content

ธนกฤต ทับเลิก

บทคัดย่อ

ปัจจุบันงานด้านการก่อสร้างต่างๆ ในประเทศได้มีอัตราการขยายงานอย่างกว้างขวางมาก ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติบางประเภทถูกทำลายไป และมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนในการก่อสร้างมีราคาสูงขึ้นตามไป จึงมีการค้นคว้าวัสดุก่อสร้างชนิดใหม่ๆ มาใช้แทนวัสดุเดิม และเพื่อช่วยลดต้นทุน  ทำให้ผู้วิจัยเกิดแนวคิดจะนำเศษเปลือกข้าวโพด เส้นใยปอสา และ ใยมะพร้าว ที่เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต มาผลิตเป็นแผ่นซีเมนต์ผสมเส้นใยพืช ในการวิจัยครั้งนี้ศึกษาหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสม ทดสอบคุณสมบัติทางกล หาอัตราการดูดซึมน้ำของแผ่นซีเมนต์ผสมเส้นใยพืช และใช้เป็นวัสดุทดแทนไม้ จากการศึกษา พบว่าแผ่นตัวอย่างที่ใช้อัตราส่วนปูนซีเมนต์ : เส้นใยเปลือกข้าวโพด อัตราส่วนผสม 1:1% เป็นอัตราส่วนผสมที่ดีที่สุดจากการทดลอง สามารถรับแรงต้านทานแรงดัดได้ดีที่สุด แผ่นตัวอย่างที่ผสมเส้นใยเปลือกข้าวโพด รับกำลังดัดได้ถึง 16.22 ksc แผ่นตัวอย่างที่ผสมเส้นใยมะพร้าวรับกำลังดัดได้ถึง 15.56 ksc และแผ่นตัวอย่างที่ผสมเส้นใยปอสา รับกำลังดัดได้ถึง 14.00 ksc ส่วนพฤติกรรมการดูดซึมน้ำ แผ่นตัวอย่างที่ผสมเส้นใยปอสาที่ใช้อัตราส่วนผสมร้อยละ 10 มีค่าการดูดซึมน้ำมากที่สุดคือ 23.66% รองลงมาคือแผ่นตัวอย่างที่ผสมเส้นใยมะพร้าว มีค่าการดูดซึมน้ำ 22.58% และแผ่นตัวอย่างที่ผสมเส้นใยเปลือกข้าวโพด มีค่าการดูดซึมน้ำ 18.50% ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ บัวศรี.“การผลิตแผ่นฉนวนกันความร้อนจากฟางข้าว.” วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี, 2544
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน .“การใช้ฉนวน” กรุงเทพ : โรงพิมพ์คอมฟอร์ม, 2543.
บุรฉัตร ฉัตรวีระ และคณะ.“การประยุกต์ใช้เส้นใยผักตบชวาเสริมในแผ่นหลังคา.” วารสาร สจธ. 17, 2 (2537) : 71-90.