CONTROL SYSTEM USE THE TEST DRIVE CAR OF TOYOTA BUENGKAN COMPANY.

Main Article Content

กฤษณะ เสาะสาย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยเรื่องระบบควบคุมการใช้รถทดลองขับบริษัทโตโยต้าบึงกาฬ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบควบคุมการใช้รถทดลองขับบริษัทโตโยต้าบึงกาฬและประเมินความพึงพอใจของพนักงานบริษัทโตโยต้าบึงกาฬคณะผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้  1) การสร้างระบบควบคุมการใช้รถทดลองขับบริษัทโตโยต้าบึงกาฬ 2) ประเมินความพึงพอใจของพนักงานบริษัทโตโยต้าบึงกาฬต่อการใช้ระบบควบคุมการใช้รถทดลองขับบริษัทโตโยต้าบึงกาฬเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ระบบควบคุมการใช้รถทดลองขับบริษัทโตโยต้าบึงกาฬ และแบบประเมินความพึงพอใจของพนักงานโตโยต้าบึงกาฬต่อการใช้ระบบควบคุมการใช้รถทดลองขับบริษัทโตโยต้าบึงกาฬ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ พนักงานบริษัทโตโยต้าบึงกาฬ จำนวน 100 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ปีการศึกษา 2561 การวิเคราะห์โดย ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


      ผลการศึกษาพบว่า  1) ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญต่อระบบระบบควบคุมการใช้รถทดลองขับบริษัทโตโยต้าบึงกาฬมีระดับค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.16)  2) ความพึงพอใจของพนักงานบริษัทโตโยต้าบึงกาฬต่อระบบระบบควบคุมการใช้รถทดลองขับบริษัทโตโยต้าบึงกาฬโดยภาพรวม    มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =4.11) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.21)  รองลงมา ด้านความปลอดภัยในการใช้งานอยู่ในระดับมาก (=4.20) ด้านความถูกต้องและการประมวลผลอยู่ในระดับมาก (= 4.17) ด้านประสิทธิภาพและประโยชน์อยู่ในระดับมาก (=4.11) และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยสุด คือ ด้านการใช้งานทั่วไป อยู่ในระดับมาก (= 4.03)

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

[1] กรณ์สิณี ฐิติกรประภาพงศ์.(2558).การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
[2] ไกรทพนธ์ เติมวิทย์ขจร.(2559).การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
[3] คณิต ดวงหัสดี (2537).แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขา จิตวิทยาการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[4] จันทนี รุ่งเรืองธนาผล.(2558).พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
[5] ชนะดา วีระพันธ์.(2555).ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี.มหาวิทยาลัยบูรพา
[6] ณธัชสร จุติสงขลา.(2559).ระบบยืม-คืนหนังสือโครงงานของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่.มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
[7] ไตรทศ มากมูล .(2559).การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดเก็บ ยืม-คืน อุปกรณ์กีฬา โรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์).มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
[8] บุญชม ศรีสะอาด (2553) การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั่งที่ 5 กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น
[9] บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.(2543).รวมบทความการวิจัยการวัดผลและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ
[10] พงษ์พิชญ์ อุดมศิริ รัตน์ และนุชนาฎ สัตยากวี.(2555).ระบบยืมคืนอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการวิจัย ภาควิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกําแพงแสน.
[11] พรพิมล สีเหลือง.(2559).ระบบยืม-คืนหนังสือ กรณีศึกษา ห้องสมุดสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
[12] พูลศักดิ์ หลาบสีดา (2555) ).การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานบริการของสายงานเทคโนโลยีและสารสนเทศภายในบริษัท. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[13] เพ็ญนภา จรัสพันธ์.(2557).ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการลูกค้า จีเนท โมบายเซอร์วิส เซ็นเตอร์ จันทบุรี.มหาวิทยาลัยบูรพา.
[14] ภาณุเดช เพียรความสุข และคณะ.(2558).ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี
[15] ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์
[16] สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง.(2555).ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการด้านการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง.มหาวิทยาลัยรามคำแหง
[17] สำนักงานตรวจสอบภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร.(2558).ความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานตรวจสอบภายในประจำปีงบประมาณ2558.มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[18] สุภารักษ์ เมินกระโทก.(2559).การใช้ระบบยืม-คืนหนังสือด้วยตนเองของนักศึกษาและคณาจารย์ กรณีศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
[19] สุมิตรา นวลมีศรี.(2555).การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการพยากรณ์ผู้เข้าศึกษาโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
[20] สุเมธ พิลึก.(2559).การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเงินกองทุนสวัสดิการชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
[21] หทัยรัตน์ บรรลือ.(2556).ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของธนาคารออมสิน สาขาสวนจิตรลดา.มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
[22] [ออนไลน์].(2555).ทฤษฏีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม bootstrap [สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561].จาก https://www.softmelt.com
[23] [ออนไลน์].(2555).ทฤษฏีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม Xampp [สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561].จาก https://www.ninetechno.com