การศึกษาภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อศึกษารูปแบบ องค์ความรู้จากการละเล่นพื้นบ้านประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านประเทศไทย ในการศึกษาครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) และใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ชุมชนบ้านศรีเมืองใหม่ อำเภอศรีเมืองใหม่ ประเทศไทย และชุมชนบ้านสิงสัมพัน เมืองชนะสมบูรณ์ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
การละเล่นพื้นบ้านของชุมชนบ้านศรีเมืองใหม่ อำเภอศรีเมืองใหม่ ประเทศไทย มีการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านมาตั้งแต่โบราณ ทั้งที่เป็นการละเล่นในชุมชนและการถ่ายทอดผ่านสถานศึกษา เช่น การเล่นซ่อนหาหรือโป้งแปะ การเล่นมอญซ่อนผ้า การเล่นรีรีข้าวสาร การเล่นงูกินหาง การเล่นขี่ม้าก้านกล้วย การเล่นวิ่งสวมกระสอบ การเล่นยิงปืนก้านกล้วย การเล่นหมากเก็บ การเล่นเดินขาโถกเถก การเล่นเดินกะโป๋หมากพร้าวหรือเดินกะลา เช่นเดียวกับชุมชนบ้าน สิงสัมพัน เมืองชนะสมบูรณ์ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการปลูกฝังค่านิยมการละเล่นพื้นบ้านที่มีความสอดคล้องและคล้ายคลึงกับการละเล่นพื้นบ้านในประเทศไทย เช่น การเล่นอีตัว อีต๋อย (ตาเจ้าเมือง) การเล่นหย่างกะโป๋ (กะโป๋หมากพร้าว) การเล่นบาจินูน การวิ่งขาโถกเถก (เดินขาหยั่ง) การเล่นเสื่องหลัง การเล่นหมากลี้ การเล่นส่อนปลาหลดปลาหลาด การละเล่นพื้นบ้านของชุมชนในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมหรือการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศ การละเล่นบางประเภทมีคำร้องและทำนองอันไพเราะ เพื่อเป็นกุศโลบายให้เกิดความเพลิดเพลิน และสร้างเสริมสุขภาพทางร่างกาย จิตใจ และการละเล่นพื้นบ้านยังช่วยสร้างจิตสำนึกของเด็กมีวินัยในการเคารพกติกา การรู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักอภัย และการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล
แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการละเล่นของประเทศไทยพบว่า 1) ควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่น 2) ควรมีการปลูกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้าน 3) ควรมีการฟื้นฟูภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านที่กำลังสูญหาย 4) ควรนำภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านมาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มและสร้างความสามัคคีทั้งในชุมชนและจัดหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษา โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ในวันสำคัญของชุมชน
การอนุรักษ์ภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านของชุมชนในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีความจำเป็นเพื่อให้การละเล่นพื้นบ้านดำรงอยู่ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งมีแนวทางโดยการจัดทำโครงการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
Article Details
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา”. วารสาร
วิชาการ. 5(6) : 29-30 มิถุนายน.
[2] ประสาท เนืองเฉลิม. (2548). การบูรณาการ
ความรู้พื้นบ้านกับการจัดการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์เพื่อชุมชน : กรณีศึกษาจาก
แหล่งเรียนรู้ป่าปู่ตา. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร. 3(1) : 17-30.
[3] สุนีย์ เพียซ้าย. (2540). กิจกรรมคณิตศาสตร์
สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร. สถาบัน
ราชภัฏสวนดุสิต.
[4] สุภางค์ จันทวานิช. (2540). วิธีการวิจัย
เชิงคุณภาพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
กรุงเทพมหานคร.