ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยว ตามเส้นทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน

Main Article Content

ณัฐพล แย้ม
จิรัสย์ ศิรศิริรัศม์
ศัชชญาส์ ดวงจันทร์
สุขุม เฉลยทรัพย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกลยุทธ์ระดับธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตราและการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ลดช่องว่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวและบทบาทของภาครัฐต่อการสร้างการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยวตามเส้นทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน : กรณีศึกษา ประเทศไทย (เชียงราย/เชียงแสน) สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (เชียงตุง) สาธารณรัฐประชาชนจีน (เชียงรุ้ง) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เชียงทอง หลวงพระบาง) ได้ผลการวิจัยดังนี้ (1) กลยุทธ์ระดับธุรกิจที่สร้างมูลค่า เพิ่มให้กับตราและการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ลดช่องว่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวและบทบาทของภาครัฐต่อการสร้างการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเส้นทางในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน กลยุทธ์ที่ 2 การสร้างความมั่นคงของการตลาด กลยุทธ์ที่ 3 การตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและกลยุทธ์ที่ 4 การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวโดยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน (2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยวตามเส้น ทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน : กรณีศึกษา ประเทศไทย (เชียงราย/เชียงแสน) สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (เชียงตุง) สาธารณรัฐประชาชนจีน (เชียงรุ้ง) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เชียงทอง หลวงพระบาง) ทั้งหมด 4 ยุทธศาสตร์ 15 กลยุทธ์ และ 33 แนวทางการปฏิบัติ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การกระตุ้นการตลาดด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การฟื้นฟูและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดความยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความยั่งยืนทางอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สุพาดา สิริกุตตา ไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์ และ
วรินทรา ศิริสุทธิกุล. (2556). การท่องเที่ยวเชิง
สร้างสรรค์อย่างยั่งยืนเพื่อตอบสนองต่อช่องว่าง
ระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ของ
นักท่องเที่ยวตามเส้นทางท่องเที่ยวในอนุภูมิ
ภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน.สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย.
[2] จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และปณิศา มีจินดา.
(2556). แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตรา
และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตาม
เส้นทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ตอนบน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
[3] ปณิศา มีจินดา ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และ
นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร. (2556). กลยุทธ์ระดับ
ธุรกิจเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันใน
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของภาคเอกชนตาม
เส้นทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ตอนบน . สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.



[4] ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุลและคณะ. (2556).
บทบาทของภาครัฐต่อการสร้างการท่องเที่ยว
เชิงสร้างสรรค์ โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและ
ชุมชนตามเส้นทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม
แม่น้ำโขงตอนบน.สำนักงานกองทุนสนับสนุน
การวิจัย.
[5] ฐิติศักดิ์ เวชากามา. (2557). “การท่องเที่ยว
เชิงสร้างสรรค์: การเตรียมความพร้อมการ
ท่องเที่ยวไทย”. วารสารการบริการและการ
ท่องเที่ยวไทย, 9(1) ,64-77.
[6] ธันยา พรหมบุรมย์ และนฤมล กิมภากรณ์.
(2558). “การรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อ
แบรนด์ท่องเที่ยวไทยภายใต้แคมเปญ
AMAZING THAILAND” .วารสารการบริการ
และการท่องเที่ยวไทย, 10(1) ,30-42.