การพัฒนานวัตกรรมรูปแบบบูรณาการเรียนรู้สะเต็มศึกษาร่วมกับ การเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานสำหรับวิศวกรรมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบบูรณาการเรียนรู้สะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานสำหรับวิศวกรรมศึกษา โดยใช้การวิจัยเอกสาร ประเมินต้นแบบของรูปแบบฯโดยผู้เชี่ยวชาญ นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนารูปแบบโมเดล 2) หาประสิทธิภาพรูปแบบบูรณาการเรียนรู้สะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานสำหรับวิศวกรรมศึกษา จากค่าดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบฯ คะแนนทดสอบเฉลี่ยหลังเรียนและก่อนเรียน และคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบรูปแบบบูรณาการเรียนรู้สะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน ประกอบด้วยขั้นตอน 7 ขั้นตอน ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมด้านการออกแบบมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านองค์ประกอบหลักของรูปแบบ ด้านกิจกรรมการสอน และด้านการประเมินผลตามลำดับ และมีดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบบูรณาการเรียนรู้สะเต็มศึกษาร่วมกับปัญหาเป็นฐานสำหรับวิศวกรรมศึกษาทั้งรายข้อและทั้งฉบับ มีค่ามากกว่า 0.50 2. ผู้เรียนมีคะแนนทดสอบเฉลี่ยหลังทดลองมากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยหลังการทดลองในระดับพึงพอใจระดับมากที่สุด
Article Details
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
[2] พรทิพย์ ศิริภัทราชัย,“STEM Educationกับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่21”, วารสารนักบริหาร, ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2556), หน้า 49-56.
[3] พินิจ เนื่องภิรมย์, มานัส สุนันท์, กนกวรรณ เรืองศิริ, สุรพันธ์ ตันศรีวงษ์ และสมศักดิ์ อรรคทิมากูล, “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SMILE โดยใช้การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นฐานสำหรับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์”, การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม ระดับชาติ ครั้งที่ 9, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, พฤศจิกายน 2559.
[4] กระทรวงศึกษาธิการ, สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี(สสวท.), “การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา”, กรุงเทพมหานคร, พิมพ์ครั้งที่ 1, พ.ศ.2557.
[5] พรจิต ประทุมสุวรรณ, “การพัฒนาชุดการสอนการควบคุมไฮดรอลิกไฟฟ้าแบบฟัซซี: วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน”, วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,พ.ศ.2553, หน้า 2.
[6] ทิศนา แขมมณี, ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ, พิมพ์ครั้งที่ 10, พ.ศ.2559, หน้า 137-138.
[7] กัญจน์ณิชา ชาวเรือ, ธนดล ภูสีฤทธิ์ และสุทธิพงศ์ หกสุวรรณ, [ออนไลน์] “การพัฒนาโมเดลการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบปญัหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย”, [สืบค้นวันที่ 4 มีนาคม 2563], จากhttps://mis.nrru.ac.th/gradjournal/uploadify/uploads/Test/776%2031-10-18%2010-42-57.pdf
[8] กมลฉัตร กล่อมอิ่ม, “การจัดการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) : รายวิชาการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู”, วารสารบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลยัราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2560, หน้า 179-192
[9] ศันสนีย์ เลี้ยงพานิชย์, “รูปแบบการเรียนแบบดิจิทัลโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในยุคไทยแลนด์ 4.0”, วารสารปัญญาภิวัฒน์, ปีที่10 ฉบับพิเศษ ประจำเดือนกรกฎาคม 2561,หน้า 208-224