การศึกษาความพึ่งพอใจต่อมือกลแขนกลเพื่อคนพิการสั่งงานด้วยเสียง การศึกษาความพึ่งพอใจต่อมือกลแขนกลเพื่อคนพิการสั่งงานด้วยเสียง

Main Article Content

THANAPON KEOKHUMCHENG
สุพรรณ ประทุมชัย
วกร สีสัมฤทธิ์
ธีระพงษ์ จันตะเสน

บทคัดย่อ

จากปัญหาในปัจจุบัน ผู้ที่พิการทางแขนที่แขนขาด ไม่อาจจะช่วยเหลือตนเองได้ จึงได้คิดจัดทำนวัตกรรมใหม่ๆที่ช่วยให้ผู้พิการสามารถนำไปใช้งานและช่วยเหลือตนเองได้ ทีมงานวิจัยจึงได้คิดจัดทำมือกลแขนกลเพื่อคนพิการสั่งงานด้วยเสียงขึ้นมาเพื่อใช้งานร่วมกับผู้พิการ ในการจัดสร้างได้นำเทคโนโลยีทางนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยมอเตอร์ ควบคุมการทำงานด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ สามารถปรับปรุงแก้ไขกระบวนการทำงานขอองแขนกลได้โดยการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงาน และสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมาทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพจริง และเก็บข้อมูล


            สำหรับการทดสอบผู้วิจัยได้นำมือกลแขนกลเพื่อคนพิการสั่งงานด้วยเสียงที่สร้างขึ้นประเมินคุณภาพโดยใช้แบบสอบถามความความคิดเห็น 4 ด้าน จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้งานกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้เข้าร่วม จำนวน 20 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่าความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ทั้ง 4 ด้าน สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านโครงสร้าง ค่าเฉลี่ย 4.67 ความพึงพอใจมากที่สุด 2) ด้านการใช้งานฐานข้อมูล ค่าเฉลี่ย 4.73 ความพึงพอใจมากที่สุด 3) ด้านการทดสอบการใช้งาน ค่าเฉลี่ย 5.00 ความพึงพอใจมากที่สุด 4) ด้านคุณค่าโดยสรุป ค่าเฉลี่ย 5.00 ความพึงพอใจมากที่สุด และความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมวิจัย จำนวน 20 ท่าน ค่าเฉลี่ย 4.73 แสดงถึงการยอมรับประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับ ความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทร์วิมล แก้วแสนสาย, กลไกการควบคุมร่างกายผ่านมายาคติเรื่องเรือนร่างและกลไกการบริโภคสื่อ : กรณีศึกษาสื่อข้อมูลธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พ.ศ.2555.

ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิ่ง, เซนเซอร์ทรานสดิวเซอร์และการใช้งาน, บริษัทด่านสุทาธาการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, (พิมพ์ครั้งที่ 2), พ.ศ.2557.

วันชัย แจ้งอัมพร, หนังสือเรือยางไฟเบอร์กลาส. บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด, กรุงเทพฯ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ, การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS, กรุงเทพฯ : บริษัท วี.อินเตอร์พริ้นท์, พ.ศ.2548.