ความตระหนักและการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็นนักบัญชีที่มีทักษะเหนือกว่า ปัญญาประดิษฐ์ : กรณีศึกษาผู้สอนและผู้เรียนแผนกวิชาการบัญชี ในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ ความตระหนักและการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็นนักบัญชีที่มีทักษะเหนือกว่า ปัญญาประดิษฐ์ : กรณีศึกษาผู้สอนและผู้เรียนแผนกวิชาการบัญชี ในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ

Main Article Content

แก้วใจ ดวงมณี
ชนิดา ยาระณะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ในทัศนะของผู้สอนและผู้เรียนแผนกวิชาการบัญชีของสถานศึกษาในกลุ่มสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ และเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการเรียนการสอน โดยทำการเลือกตัวอย่างแบบมีจุดมุ่งหมาย(purposive sampling) ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สอน จำนวน 8 คน และผู้เรียน จำนวน 24 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 32 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้สอนและผู้เรียนแผนกวิชาการบัญชีส่วนใหญ่ เคยได้รับรู้เกี่ยวกับ “ปัญญาประดิษฐ์” จากนิตยสาร อินเทอร์เน็ต และในชั้นเรียน แต่บางส่วนก็ไม่เคยทราบมาก่อน ตามทัศนะของผู้ให้สัมภาษณ์ ปัญญาประดิษฐ์มี 2 ลักษณะ คือ อยู่ในรูปแบบของโปรแกรม ไม่มีตัวตน  และอีกรูปแบบหนึ่งคือเป็นหุ่นยนต์ มีตัวตน ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์ คือ สามารถทำสิ่งต่างๆ แทนคนได้และดีกว่าโดยเฉพาะงานที่ทำซ้ำๆ  เนื่องจากมีความแม่นยำ ลดขั้นตอน และลดต้นทุน ส่งผลให้คนตกงานมากขึ้น เนื่องจากองค์กรจะนำปัญญาประดิษฐ์มาทำงานแทนคน จากการสัมภาษณ์ ผู้สอนและผู้เรียนควรมีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ และพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ ทักษะการใช้เทคโนโลยี และทักษะที่ปัญญาประดิษฐ์ไม่สามารถทำได้ดีเท่าคน


คำสำคัญ : ปัญญาประดิษฐ์, แผนกวิชาการบัญชี, สถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

K. Omoteso. “Expert Sustems with

Applications :The application of

artificial in auditing : Looking back

to future”, pp. 8491, 2012.

E.D.Carson. “An approach for

designing decision support systems”,

pp. 3, December 1987.

นันทวรรณ บุญช่วย, “ยุคพลิกผันทาง

เทคโนโลยีกับการพัฒนานักบัญชีนวัตกร”,

วารสารบริหารธุรกิจแลสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ปีที่ 3 พ.ศ.2563,

ฉบับที่ 1, หน้า 16-21.

C. Hoffman. “Accounting and Auditing

in the Digital Age”, pp.3-9, June 2017.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

“พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา

พุทธศักราช 2551” [Online]. Available:

http://www.vec.go.th. [Accessed : 28

กรกฎาคม 2562].

สุกมล มุ่งพัฒนสุนทร “ยุคแห่งสังคม AI :

หาก AI มาแทนที่มนุษย์” การประชุมเสนอ

ผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช ครั้งที่ 8 : 2561. หน้า 34-38.

ณัฏฐ์ อรุณ “ปัญญาประดิษฐ์กับการ

ประยุกต์ใช้งาน”[Online]. Available:

https://www.bu.ac.th. [Accessed : 14

กรกฎาคม 2562].

Luo, Meng and Cai “Analysis of the

Impact of Artificial Intelligence

Application on the Development of

AccountingIndustry”, PP. 885, August

B.K. Woolf, H.C. Lane, V.K. Chaudhri

and J.L. Kolodner. “AI Grand

Challenges for Education”, PP. 17-18,

December 2013.

J. Ma “The Challenge and Develop-

ment of Vocational Education Under

the Background of Artificial

Intelligence”, PP. 525, May 2019.

พาสนา จุลรัตน์ “การจัดการเรียนรู้สำหรับ

ผู้เรียนในยุคThailand 4.0”, ”[Online].

Available : https:// he02.tci-thaijo.org/

[Accessed : 30 กรกฎาคม 2562].

ฮิวจ์ เดลานี “การศึกษาสำหรับศตวรรษ

ที่ 21 การพัฒนาทักษะคือหัวใจของการ

ศึกษา” [Online]. Available : https://

www.unicef.org/Thailand/th/stories.

[Accessed: 16 ธันวาคม 2562].

อติพร เกิดเรือง “การส่งเสริมการเรียนรู้ใน

ศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุค

ดิจิทัล” [Online]. Available:

https://so04.tci-thaijo.org. [Accessed:

กรกฎาคม 2562].

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์

“ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อ

ศตวรรษที่ 21”[Online]. Available: จาก

http:// openworlds.in.th [Accessed:

กรกฎาคม 2562].

สภาวิชาชีพบัญชี, Digital Economy:

Impact on Accounting Professions.

เอกสารประกอบคำบรรยาย การประชุม

วิชาการ “FAP International

Conference 2016”, สภาวิชาชีพบัญชี, 21

ตุลาคม 2559. หน้า 15.

พูนเพิ่ม เสรีวิชยสวัสดิ์, “การยอมรับและการ

ใช้เทคโนโลยี : บทบาทสำคัญต่อพฤติกรรม

เชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรในอุตสาหกรรม

ไมซ์ของประเทศไทย”, วารสารวิทยาลัย

ดุสิตธานี, ปีที่ 13 พ.ศ. 2562, ฉบับที่ 3,

หน้า 508.

Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw,

P. R. (1989). “User acceptance of

computer technology: A comparison

of two theoretical models”,

Management Science, PP. 982–1003,

อุบลวรรณ ขุนทอง, นรีรัตน์ อนันต์ชัยรัชตะ

และบุญธรรม ราชรักษ์, ปัจจัยที่มีผลต่อการ

ยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน กรณีศึกษา

ระบบการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน ด้วย

เทคโนโลยี Near Field Communication

(NFC) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคใน

กรุงเทพมหานคร”, วารสารรัชต์ภาคย์, ปีที่

ฉบับที่ 32, หน้า 26-28, มกราคม –

กุมภาพันธ์ 2563.

ธนนันทพร นพนิธิพัฒน์ และคณะ “การรับรู้

ของผู้เรียนสาขาการบัญชีเกี่ยวกับหุ่นยนต์

นักบัญชี” โครงการนำเสนอผลงานทาง

วิชาการระดับชาติและนานาชาติ พ.ศ. 2562

ครั้งที่ 6: 2562. (หน้า 64-64).

H. Damerji “Technology Readiness

Impact on Artificial Intelligence

Technology Adoption by Accounting

Students”, PP. 69-70, November

S.P. Rane “The Future of Accounting

and Finance: Artificial Intelligence”,

PP. 303, March 2020.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคน

อาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการ

อาชีวศึกษา [Online]. Available:

http://std2018.vec.go .th. [Accessed:

กรกฎาคม 2562].

อรวรรณ ศรีโสมพันธ์ “โครงการอบรม

นักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่)” [Online].

Available: http://www.ubu. ac.th.

[Accessed: 18 สิงหาคม 2562].

สภาวิชาชีพบัญชี “พระราชบัญญัติการบัญชี

พ.ศ. 2547” [Online]. Available:

http://www. tfac. or. th. [Accessed: 20

กันยายน 2562].

ชาย โพธิสิตา, สถาบันวิจัยประชากรและ

สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2549, หน้า

-290.