การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนวิชาชีพ สาขาช่างอุตสาหกรรม และการติดตามและประเมินผลในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์พัฒนาสมรรถนะผู้เรียนวิชาชีพ สาขาช่างอุตสาหกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาของประเทศตรงความต้องการของสถานประกอบการ และผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและทัศนคติที่ตรงกับวัย และสอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยทักษะ 3R และ 7C การจัดการเรียนอาชีวศึกษา สาขาช่างอุตสาหกรรมจึงมีรูปแบบที่ความสอดคล้องกับวิชาชีพของผู้เรียนให้สามารถปฏิบัติงานได้จริงและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active learning) การจัดการเรียนรู้จึงมีความสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะ
การจัดการอาชีวศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและผลิตผู้เรียนวิชาชีพ สาขาช่างอุตสาหกรรมให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับการทำงานในปัจจุบันโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการทำงานจริงในสถานประกอบการ บทความนี้จึงนำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้การใช้ปัญหาเป็นฐาน (Ploblem-based learning) และการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creative-based learning) เป็นการต่อยอดการเรียนรู้ และการติดตามและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความหลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับการวัดผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสามารถนำผลการเรียนรู้ไปพัฒนาการจัดเรียนการสอน นโยบายการการจัดการศึกษาและพัฒนาความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ
Article Details
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)