การศึกษาความสำเร็จในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ทัศนีย์ ธนอนันต์ตระกูล
สุวรรณา พรมทอง
จุฑามาศ เทพสาร
นิลาวัลย์ มีชั้นช่วง
สุภาพร ชินศรี

บทคัดย่อ

     การพัฒนาประเทศตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมาส่งผลให้ประเทศไทยมีระดับการพัฒนาที่สูงขึ้นตามลำดับ เศรษฐกิจของไทยมีขนาดใหญ่ขึ้นมีฐานการผลิต และบริการที่มีความเข้มแข็งและโดดเด่นในหลายสาขารวมถึงเศรษฐกิจของชุมชนและท้องถิ่น ดังนั้น คณะผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาความสำเร็จในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายบัญชีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตอุดรธานี จำนวน 287 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารฝ่ายบัญชีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ความเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตจังหวัดอุดรธานี โดยรวมแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ทักษะด้านความรู้ความสามารถ เช่น นักบัญชีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีอย่างถูกต้องครบถ้วน และนักบัญชีสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดทำบัญชีได้ ทักษะด้านเอกสารและวิธีการทางบัญชี เช่น การบันทึกรายการในสมุดบันทึก รายการขั้นต้นถูกต้องครบถ้วนการผ่านรายการจากสมุดบันทึกรายการขั้นต้นไปยังสมุดบันทึกรายการขั้นปลายถูกต้องครบถ้วน การผ่านรายการจากสมุดรายวันขั้นต้นไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท และเอกสารที่ใช้ในการประกอบการบันทึกบัญชีมีปริมาณที่เหมาะสม ทักษะด้านรายการขั้นปลายถูกต้องครบถ้วน การผ่านรายการจากสมุดรายวันขั้นต้นไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท และเอกสารที่ใช้ในการประกอบการบันทึกบัญชีมีปริมาณที่เหมาะสม ทักษะด้านความร่วมมือและประสานงาน เช่น ความร่วมมือในการส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี และผู้สอบบัญชีมีบทบาทในการให้คำแนะนำในการจัดทำบัญชีให้ถูกต้อง ทักษะด้านเครื่องมือ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น การบันทึกรายการ รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วนและแม่นยำ และความปลอดภัย ในการเข้าใช้งาน การจัดทำบัญชี โดยสรุป ความสำเร็จในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดอุดรธานี ผู้บริหารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ควรให้ความสำคัญต่อความสำเร็จในการจัดทำบัญชี เพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านการบัญชีให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นเครื่องมือ ให้ฝ่ายบริหารใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน เพื่อให้การประกอบธุรกิจมีความเจริญเติบโตและยั่งยืนต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2560). แผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติฉบับที่ 12. [สืบค้นวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562] จาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2562). วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. [สืบค้นวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562] จาก : https://www.sme.go.th

อภิญญา วิเศษสิงห์ (2562). ธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม. [สืบค้นวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562] จาก : http://www.elfms.ssru.ac.th

สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอุดรธานี (2562). ข้อมูลบริษัทและห้างหุ้นส่วน. [สืบค้นวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562] จาก : https://www.sme.go.th.

บุญชม ศรีสะอาด (2560 : 121). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

กันทา สะเอียบคง (2558). การศึกษาปัจจัยความสําเร็จของการใช่้ระบบการเงินและบัญชีภาครัฐด้ววยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้แบบจําลองความสําเร็จของระบบสารสนเทศของ DeLone และ McLean (2003) กรณีศึกษากรมตรวจบัญชีสหกรณ์. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัชชา ไชยวงค์ (2560). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่มีต่อประสิทธิผลการทำงานของนักบัญชีในจังหวัดตาก. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์น.

ผาณิต วงศ์ชาร และมาลี กาบมาลา (2557). การจัดการเอกสารของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ขอนแก่น. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธรรญชนก ศรีทิพย์รัตน์ (2558). ภาวะผู้นำระบวนการในการวางแผน การประสานงานและการดำเนินงาน ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานในองค์กร กรณีศึกษา: พนักงานบริษัท เทเลคอม ในเขตกรุงเทพมหานคร.

ขันแก้ว สมบูรณ์. (2554 ). ความคุ้มค่าของการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.