การศึกษาและออกแบบศูนย์วัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย การศึกษาและออกแบบศูนย์วัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

นายปิยะฉัตร ไตรแสง
ณรงค์ศักดิ์ ศรีเจริญ
สมชาติ ศรีสมพงษ์
โชติ เพียรพิจิตร
กนกวรรณ พิทักษ์สมุทร
พิศาล คีรีวงศ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบอาคารศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย และเพื่อออกแบบอาคารศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดหนองคายสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอนุรักษ์ เก็บรักษาวัฒนธรรม อาหารการกิน วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของจังหวัดหนองคาย ดำเนินการโดยการศึกษาข้อมูลจาก หลักการทฤษฎีในการออกแบบสถาปัตยกรรม อาคารตัวอย่าง เว็บไซน์ที่เกี่ยวข้องกับหลักการ  การสำรวจด้วยตัวเอง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมมาเรียบเรียง และวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบอาคาร
       ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของอาคารศูนย์วัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย  ได้ศึกษาทฤษฎีในการออกแบบสถาปัตยกรรมใช้เวลาในการดำเนินงาน 4 เดือน ข้อมูลด้านผู้ใช้ประจำในอาคารซึ่งมีจำนวน 38 คน ขนาดพื้นที่ใช้สอยของอาคาร 2,400 ตารางเมตร  มีส่วนประกอบ 4 ส่วน ประกอบไปด้วยส่วนบริหารส่วนวิชาการและการศึกษา  ส่วนส่งเสริมและเผยแพร่  ส่วนบริการ4)ส่วนการรักษาความปลอดภัย  ดำเนินการวิเคราะห์ที่ตั้งของอาคารออกแบบการวางผังอาคาร ออกแบบกลุ่มกิจกรรมและแนวความคิดในการออกแบบอาคาร
การออกแบบวางผัง
        ผลการออกแบบอาคารศูนย์วัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการออกแบบวางผัง มีทั้งหมด 3 อาคาร ประกอบด้วย อาคารส่งเสริมและเผยแพร่ อาคารบริการอาหาร  และอาคารรักษาความปลอดภัย อาคารทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วยทางเดิน มีทาง เข้า-ออก ทางเดียว มีทาง service ด้านหลัง มีทางคนพิการเข้าสู่อาคารหลัก  2) ด้านการออกแบบกลุ่มกิจกรรม แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ประกอบด้วย อาคาร    ที่ 1  มีทั้งหมด 4 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นส่วนเก็บรักษา ชั้นที่ 2 เป็นส่วน นิทรรศการ ชั้นที่ 3 เป็นส่วนการศึกษาและส่งเสริมและเผยแพร่  ชั้นที่ 4 เป็นส่วนบริหาร อาคารที่ 2 ส่วนบริการอาหาร และอาคารที่ 3 ส่วนรักษาความปลอดภัย  และ 3) ด้านการออกแบบรูปทรงอาคารการออกแบบอาคารได้แนวความคิดมาจากรูปทรงสี่เหลี่ยมโดยบิดแนวแกนอาคารหลัก ซึ่งทำให้อาคารเกิดจุดเด่นและการยกตัวอาคารขึ้นทำให้อาคารดูสง่ามากขึ้น  ตัวอาคารได้แนวความคิดมาจาก รูปแบบงานสถาปัตยกรรมไทย ในด้านแผงบังแดดได้แนวความคิดจากลายผ้าขาวม้าแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับตัวอาคารเพื่อให้คงความเป็นเอกลักษณ์และพื้นที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดร.วริทธิ์ อึ๊งภากรณ, การออกแบบอารคารในเขตเทศบาล, (พิมพ์ครั้งที่ 1), สงขลา, พ.ศ.2556.

รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์, การออกแบบสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน Universal Design Code of Practice, (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ : สมาคมสถานิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, พ.ศ.2552.

Vincent Jones, Joho Thackara, Richard Miles. NEUFERT ARCHITECTS’ DATA. 2nd edition, London : BPS PROFESSIONAL DOOKS, 1980.

เดชา บุญค้ำ, การวางผังบริเวณ และงานบริเวณ, (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ.2554.

ภัทราวดี ศิริวรรณ, ความรู้พื้นฐานงานออกแบบตกแต่งภายใน INTERIOR DESIGNS, (พิมพ์ครั้งที่ 2), ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์ จำกัด, พ.ศ.2555.