การพัฒนารูปแบบการบริหารโฮมสเตย์ เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบนฐาน เศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาสภาพ พัฒนารูปแบบ และประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารโฮมสเตย์ เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี 2 ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่าง 214 คน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 15 คน และผู้ที่เกี่ยวข้อง 30 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปภาพรวม
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพการบริหารโฮมสเตย์ เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ 1) ด้านการมีกฎ กติกา การทำงานของคณะกรรมการ 2) ด้านการมีระบบการจองล่วงหน้า ลงทะเบียน และชำระเงินล่วงหน้า 3) ด้านการมีคณะกรรมการบริหารกลุ่มโฮมสเตย์ 2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารโฮมสเตย์ เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ได้รูปแบบที่เป็นเชิงข้อความ ประกอบด้วย หลักการพัฒนา วัตถุประสงค์การพัฒนา กิจกรรมการพัฒนา ตัวชี้วัดการพัฒนาและการประเมินผลการพัฒนา ซึ่งมีทั้งหมด 3 ด้าน 11 กิจกรรมการพัฒนา 3. ผลการประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบนฐาน เศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่อำเภอหนองแสง โดยภาพรวม มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก เปรียบเทียบกับเกณฑ์แล้วปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 3.51 ทุกด้าน จึงถือว่าการพัฒนารูปแบบการบริหารโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ผ่านการประเมินสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2549). แหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์. แหล่งที่มา : http://www.bangkok bizweek.com/ (28 ธันวาคม 2562).
กรมการพัฒนาชุมชน. (2552). คู่มือแผนปฏิบัติราชการประจำปี. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน.
กัลยาณี กุลชัย. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ บ้านท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด และ นิภา ศรีไพโรจน์. (2531). รายงานการวิจัยรูปแบบการสอนวิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุทธนา สมลา. (2549). การบริหารจัดการแหล่งพักอาศัยแบบโฮมสเตย์ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา หมู่บ้านบุไทร อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญจันทร์ สังข์แก้ว และคณะ. (2552). รายงานการวิจัยการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นที่สูง อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2537). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2541). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.