การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ แบบใช้โครงงานเป็นฐานของวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี

Main Article Content

ราชัน ทองคำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน และ 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงาน เป็นฐานของวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี วิธีการดำเนินการวิจัย  มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 3) การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม และ 4) การประเมินหลักสูตรฝึก กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู จำนวน 6 คน และ นักเรียน นักศึกษา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน มีค่าความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 2) แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน มีค่าความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 3) แบบประเมินคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานของครูผู้สอน มีค่าความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80-1.00  และ 4) แบบประเมินคุณภาพโครงงานของผู้เรียนที่ผ่านการเรียนรู้แบบใช้โครงานเป็นฐาน มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 


  1. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน ของวิทยาลัย

การอาชีพปราณบุรีที่สร้างขึ้น มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผลของการฝึกอบรม 2) วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม 3) โครงสร้างเนื้อหาของการฝึกอบรม              4) การจัดกิจกรรมฝึกอบรม 5) สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม และ 6) การวัดและประเมินผล สำหรับเนื้อหาการฝึกอบรมมี       


 


 


4 ด้าน คือ 1) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมรรถนะและการพัฒนาสมรรถนะ 2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน 3) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน และ 4) แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน


  1. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานของวิทยาลัยการอาชีพปราณบุรี พบว่า ครูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะและการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน หลังการฝึกอบรมมีสูงกว่าก่อนฝึกอบรม  มีร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 85.53 นักเรียน นักศึกษาที่ผ่านการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน สามารถทำ   โครงงานได้ และคุณภาพโครงงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

8.เอกสารอ้างอิง

[1] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ
[2] ปริศนา แก้วปัญญา. (2555). การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
[3] แม็คเอดูเคชั่น. (2558). ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.
[4] ชาลินี เกสรพิกุล. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูภาษาไทย ด้านการสอนคิดวิเคราะห์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 2555 : 200-203.
[5] อรุณ จุติผล. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2557:181-182
[6] ธีรกรณ์ พรเสนา. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูวิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13: 50-56
[7] อนุชิต จันทศิลา. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านภาษาของผู้เรียนสำหรับครูระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
[8] นิลรัตน์ โคตะ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนระดับประถมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ด้านการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์
สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
[9] กฤตชน วงศ์รัตน์. (2556). การฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
[10] มยุรี นาสมใจ. (2555). การพัฒนาครูด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านไหนองไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
[11] ยศวัฒน์ คำภู. (2562). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐานวิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
[12] ปริศนา แก้วปัญญา. (2555). การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม