การผลิตถ่านอัดแท่งจากเศษหน่อไม้เหลือทิ้ง การผลิตถ่านอัดแท่งจากเศษหน่อไม้เหลือทิ้ง

Main Article Content

พงศกร สุรินทร์
ชาญณรงค์ กันทะ
วรานนท์ มาวิเลิศ
ยุทธภูมิ ขันทะเขียว
มนินทรา ใจคำปัน

บทคัดย่อ

เศษหน่อไม้เหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปหน่อไม้ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาด้านขยะของผู้ประกอบการในจังหวัดลำปาง ดังนั้นผู้ประกอบต้องการหาแนวการใช้ประโยชน์จากเศษหน่อไม้เหลือทิ้ง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาอัตราส่วนผสมการผลิตถ่านอัดแท่งจากเศษหน่อไม้เหลือทิ้ง 2) ศึกษาอุณหภูมิสูงสุดถ่านอัดแท่งจากเศษหน่อไม้เหลือทิ้ง วิธีการวิจัยเชิงทดลองอัตราส่วนผสมการผลิตถ่านอัดแท่งจากเศษหน่อไม้เหลือทิ้ง ร่วมกับผงถ่าน แป้งมันสำปะหลัง และน้ำ โดยใช้กระบวนการอัดขึ้นรูปถ่านด้วยเครื่องอัดแบบเกลียวรูปกรวยและตากแห้งถ่านอัดแท่งจากเศษหน่อไม้เหลือทิ้ง หลังจากนั้นจึงทดสอบด้วยวิธีการต้มน้ำให้เดือด ผลการวิจัย 1) อัตราส่วนที่เหมาะสม คือ เศษหน่อไม้ 300 กรัม, ผงถ่าน 2,500 กรัม, แปังมันสำปะหลัง 500 กรัม และน้ำ 2,500 กรัม 2) อุณหภูมิสูงสุด 70 องศาเซลเซียส ช่วงเวลาที่ให้ความร้อนสูงสุดที่เวลา 80 นาที รวมเวลาเผาไหม้ 135 นาที

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2561-2580. (2563). กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงาน.

ปกรณ์ อุ่นไธสง และรชต มณีโชติ. (2562). การสร้างเครื่องและหาประสิทธิภาพถ่านอัดแท่งจากฝักราชพฤกษ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(2), 147-157.

ธนิรันต์ ยอดดำเนิน และเสาวลักษณ์ ยอดวิญญูวงศ์. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งจากใบอ้อยและชานอ้อยสู่ วิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, 7(2), 12-24.

ศตพล มุ่งค้ำกลาง. (2559). การหาประสิทธิภาพแท่งเชื้อเพลิงจากถ่านกะลามะพร้าวและวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรใน การประกอบอาหาร. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : เทพสตรี I-TECH, 11(1), 59-67.

โรสลีนา อนันตนุกูลวงศ์, รอดียะห์ เจ๊ะแม และนุรมายามีน สาเร๊ะนุ. (2562). การผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย, 4(1), 47-53.

อนุวัตร ศรีนวล และ อัมพวัลย์ ชัยนาวา. (2561). การศึกษาเชื้อเพลิงอัดแท่งจากใบสนประดิพัทธ์ผสมถ่านหินลิกไนต์. วารสาร วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 8(3), 128-151