การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ออกแบบโครงสร้างเหล็กที่เหมาะสม

Main Article Content

พัชร อ่อนพรม
เรืองรุชดิ์ ชีระโรจน์
เดชวิชัย พิมพ์โคตร
ขจรศักดิ์ วิเศษสุนทร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการประยุกต์ใช้แบบจำลองการปีนเขาและแบบจำลองการอบเหนียว สำหรับการออกแบบหน้าตัดที่เหมาะสมตามมาตรฐานโครงสร้างเหล็กของสถาบันเหล็กก่อสร้างแห่งสหรัฐอเมริกา โดยใช้วิธีกำลังที่ยอมให้และวิธีตัวคูณความต้านทานและน้ำหนักบรรทุก ซึ่งขั้นตอนการออกแบบที่เหมาะสมถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้ ไมโครซอฟท์วิชวลสตูดิโอ 2015 เพื่อให้ได้วิธีที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบหน้าตัดเหล็ก จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าหน้าตัดของเหล็กที่เหมาะสมจากการคำนวณด้วยโปรแกรมสามารถใช้ในการออกแบบที่เหมาะสมของหน้าตัดเหล็กได้ และจากการเปรียบประสิทธิภาพการออกแบบโดยแบบจำลองการปีนเขา และโดยวิธีแบบจำลองอบเหนียว พบว่าผลการออกแบบโดยทั้งสองวิธีแบบจำลองสามารถออกแบบได้คำตอบที่เหมาะสมได้ใกล้เคียงกันและมีความประหยัดมากกว่าวิธีดั้งเดิม


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, อัลกอริทึมและผังงานเบื้องต้น, 2563, [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564]. จาก https://www.scimath.org

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, ทักษะพื้นฐานและการแก้ปัญหาด้วยการค้นหา, 2563, [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564]. จาก https://www.dusithost.dusit.ac.th

มูลนิธิวิกิมีเดีย, การจำลองการอบเหนียว, 2556, [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564]. จาก https://www.th.wikipedia.org

American Institute of Steel Construction, Manual of steel construction, 2017, [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564]. จาก www.issuu.com

ทักษิณ เทพชาตรี และ อัครวัชร เล่นวารี, พฤติกรรมและการออกแบบโครงสร้างเหล็ก, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2561.