ชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 ชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาโครงการ เรื่องชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 มีวัตถุประสงค์ของโครงการ 1) เพื่อออกแบบสร้างชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 2) เพื่อหาประสิทธิภาพการใช้งานชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32
การออกแบบสร้างชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 โดยติดตั้งเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 พร้อมระบบเกียร์, ระบบระบายความร้อน และอุปกรณ์แผงจำลองสถานการณ์ข้อขัดข้องจะแสดงวงจรของระบบเครื่องยนต์พร้อมจุดวัดสัญญาณต่าง ๆ ทั้งสัญญาณจากเซนเซอร์และสัญญาณควบคุม บนแท่นชุดฝึกและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ประสิทธิภาพการใช้งานของชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร E1/E2 ซึ่งในการฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ปัญหาเครื่องยนต์ สร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้ผู้ใช้ชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์เกิดการเรียนรู้ ตามจุดประสงค์ถึงระดับเกณฑ์ที่คาดหวังได้ ดังนี้ ผลการหาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) พบว่า ประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 (E1) เท่ากับ 82.35 และผลการหาประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ (E2) ของชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 ซึ่งได้จากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (E2) เท่ากับ 82.7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 มีค่าเฉลี่ย E1/E2 เท่ากับ 82.35/82.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ E1/E2 เท่ากับ 80/80 ผลการศึกษาความพึงพอใจชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( =4.60, S.D.=0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ คู่มือการใช้งาน ( = 4.68, S.D.= 0.49) รองลงมาด้านการออกแบบและสร้าง ( = 4.64, S.D.=0.53) และ ด้านการใช้งาน ( = 4.48, S.D.= 0.55) และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์ที่มีต่อชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 ที่ผู้ศึกษาโครงการวิจัยได้สร้างขึ้นและนำชุดฝึกนี้ ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่าผู้ใช้ชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( =4.46, S.D.=0.59) หากพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกปฏิบัติเครื่องยนต์นิสสัน รุ่น เซฟิโร่ A32 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการออกแบบ ( = 4.57, S.D. = 0.52) รองลงมาคือ การใช้งาน ( = 4.5, S.D. = 0.55) และ ด้านการสร้าง ( = 4.33, S.D. = 0.70
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2528). ระบบสื่อการสอน กรุงเทพ, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาญชัย ทองประสิทธิ์ และคณะ. (2559). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนการอนุรักษ์พลังงาน เรื่องหลอดไฟ. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 29(100), 86-90
บริษัท สยามกลการและนิสสันเซลส์ จำกัด, 2539 คู่มือซ่อม NISSAN, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพ.
ประภาส พวงชื่น. (2560). (บทคัดย่อออนไลน์] การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกระบบเครื่องยนต์แก๊สโชลีน ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคระยอง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (สืบค้นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564). จาก http://research.otepc.go.th/mfhandler.php?fie
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. สุวีริยาสาส์น. กรุงเทพ.