การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาและความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชา ทฤษฎีโครงสร้าง กรณีศึกษา: ระดับ ปวส.1 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคน่าน

Main Article Content

หทัยมาศ ศิริกันชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เกี่ยวกับการศึกษารูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) ของนักศึกษา และศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกใช้แบบเจาะจง คือ นักศึกษา ปวส. ที่ลงทะเบียนวิชาทฤษฎีโครงสร้าง จำนวน 44 คน ภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (ก) ห้องเรียนออนไลน์ 2 กลุ่ม คือกลุ่มห้องเรียนออนไลน์แบบปกติหรือแบบเชิงรับ และกลุ่มห้องเรียนออนไลน์แบบกลับด้านหรือแบบเชิงรุก (ข) สื่อการสอนเป็น Power Point และวิดีโอการสอนผ่าน YouTube (ค) แบบสอบถามรูปแบบการเรียนรู้ VARK Learning Styles (ง) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาทีมีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และ (จ)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบไปด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าน้ำหนักของรูปแบบการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เป็นแบบ A หรือการเรียนรู้ผ่านการฟัง โดยมีค่าน้ำหนักเท่ากับ 3.11 และ 3.35 สำหรับกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ตามลำดับ ส่วนรูปแบบการเรียนรู้ที่นักศึกษาเลือกเป็นลำดับที่ 2, 3 และ 4 มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มของนักศึกษา นอกจากนี้ ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นอยู่ในภาพรวมระดับมาก อย่างไรก็ตาม สังเกตเห็นว่านักศึกษากลุ่มที่ 2 ที่ใช้รูปแบบห้องเรียนออนไลน์แบบกลับด้านให้ความคิดเห็นการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่ดีกว่า สุดท้ายนี้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาทั้งสองกลุ่มที่เรียนออนไลน์มีค่าเฉลี่ยคะแนนสอบที่ไม่แตกต่างกันกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในห้องเรียนปกติในปีการศึกษาที่ผ่านมา  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ขจรพงษ์ พู่ภมรไกรภพ, “MIAP กับการจัดการเรียนรู้อาชีวศึกษา”, วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, ปีที่ 2, ฉบับที่ 2, หน้า 14, ปี 2562.
[2] พลตรี สังข์ศรี, “รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานวิชาโครงการ สำหรับนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา”, วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3, ปีที่ 3, ฉบับที่ 5, หน้า 107, ปี 2563
[3] ตันติกร คมคาย, ทรงศักดิ์ สองสนิท และพงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์, “การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์สนับสนุนวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ”, วารสารวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, ปีที่ 5, ฉบับที่ 2, หน้า 30, ปี 2561
[4] พงษ์ศักดิ์ บุญภักดี, “การประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา”, วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3, ปีที่ 4, ฉบับที่ 8, หน้า 47, ปี 2563
[5] สุวัฒน์ บุญลือ, “รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสาหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี”, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, ปีที่ 11 ฉบับที่ 2, หน้า 250, ปี 2560
[6] วิจารณ์ พานิช, การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21, นครปฐม : บริษัท ส เจริญการพิมพ์ จำกัด,พ.ศ. 2556.
[7] Fleming N. (2008). Vark Classification of Learning Styles. London, Educational: SEDA
[8] สุรีพร ปวุฒิภัทรพงศ์. (2564, มกราคม 10). แบบสอบถาม ฉันจะเรียนได้ดีที่สุดอย่างไร [Online]. แหล่งที่มา: vark-learn.com/แบบสอบถาม/
[9] สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2563 ธันวาคม 25). การใช้เกณฑ์แปลความหมายค่าเฉลี่ยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ [Online]. แหล่งที่มา: http://www.thaiall.com/blog/tag/likert/
[10] จงกลนี ตุ้ยเจริญ, “รูปแบบการเรียนรู้แบบวาร์คของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา”, วารสารวิชาการสาธารณสุข, ปีที่ 29, ฉบับที่ 6, หน้า 1082, ปี 2563
[11] สิรารักษ์ ศรีมาลา และรุ่งทิวา หวังเรืองสถิตย์, “ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนการพยาบาลทารกแรกเกิด”, วารสารวิชาการสาธารณสุข, ปีที่ 24, ฉบับที่ 4, หน้า 757, ปี 2558
[12] เสถียร พูนผล และปฏิพล อรรณพบริบูรณ์, “การสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงโควิท 19 เพื่อออกแบบแนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม”. การประชุมวิชาการครั้งที่ 15 ประจำปี 2563 สมาคม เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กร ระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท), 15 กรกฎาคม 2563, หน้า 36 – 47