รูปแบบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลสำหรับการบริหารจัดการ สถาบันการอาชีวศึกษาภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่ในประเทศไทย The Educational Innovative Organization in the Digital Era Model for Vocational Education Management Under New Normal Situation in Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษารูปแบบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลสำหรับการบริหารจัดการสถาบันการอาชีวศึกษาภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่ในประเทศไทย การวิจัยใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาที่เป็นเลิศในประเทศไทย 40 แห่ง จำนวน 40 คน จากการเลือกผู้บริหารแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบบเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสารัตถภาพและสัมพันธภาพ วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการศึกษาเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ขั้นการเก็บข้อมูลและกำหนดองค์ประกอบ 3) ขั้นการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบ และ 4) ขั้นการตรวจสอบและยืนยันรูปแบบที่เหมาะสมโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลสำหรับการบริหารจัดการสถาบันการอาชีวศึกษาภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่ในประเทศไทยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 12 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษา 2) การกำหนดโครงสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษาที่เหมาะสม 3) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนนวัตกรรมทางการศึกษาทุกมิติ 4) รูปแบบ กระบวนการ และการปฏิบัติที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา 5) การกำหนดโครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เหมาะสมสำหรับการบริการ 6) ทีมผู้นำเชิงนวัตกรรมที่มุ่งมั่นไปสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ 7) ทีมงานมีนิสัยแห่งนวัตกรรมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมระดับอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพ 8) การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว 9) นวัตกรรมการจัดการความรู้ด้านทักษะอาชีพที่มีประสิทธิภาพ 10) การส่งเสริมบุคลากรในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างอิสระ 11) การสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ของทั่วทั้งองค์กร และ 12) การสร้างทางเลือกใหม่เพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะอาชีพในยุคดิจิทัล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์ โดย สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
306 หมู่ 5 ถนนมิตรภาพ หนองคาย-อุดรธานี ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
โทร 0-4241-1445,0-4241-1447
ISSN : 3027-6861 (print) ISSN : 3027-687X (online)
References
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). มาตรฐานศึกษาระดับการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง และอุษา งามมีศรี. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาที่มีอิทธิพลต่อความทุ่มเทในการทํางานของบุคลากรทางการศึกษาในภาคตะวันออกของประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมวิทยา ครั้งที่ 8 (NICHSS2018). 29-30 พฤศจิกายน 2561.
Hamdan, K.M., Al-Bashaireh, A.M., Zahran, Z., Al-Daghestani, A., AL-Habashneh, S. and Shaheen, A.M. (2021). University Students' Interaction, Internet Self-Efficacy, Self-Regulation and Satisfaction with Online Education during Pandemic Crises of COVID-19 (SARS-CoV-2). International Journal of Educational Management. Vol. 35 No. 3, pp. 713-725.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, สำเริง อ่อนสัมพันธุ์, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ดรุณี ปัญจรัตนากร, ฤทธิเดช พรหมดี และเชิดศักดิ์ ศุภโสภณ. (2564). องค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. การประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยพะเยา. 28-29 มกราคม 2564. หน้า 3513-3528.
Deng, L. and Ma, W. (2018). New Media for Educational Change. pp. 3-11. New York: Springer.
Brunetti, F., Matt, D.T., Bonfanti, A., De Longhi, A., Pedrini, G. and Orzes, G. (2020). Digital Transformation Challenges: Strategies Emerging from a Multi-Stakeholder Approach. The TQM Journal. Vol. 32, No. 4, pp. 697-724.
ดรุณี ปัญจรัตนากร, สำเริง อ่อนสัมพันธุ์, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ฤทธิเดช พรหมดี, อุษา งามมีศรี และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). แนวทางการบริหารงานระบบไอซีทีเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษา. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยพะเยา. 28-29 มกราคม 2564. หน้า 3892-3907.
Alves, M.F.R., Galina, S.V.R. and Dobelin, S. (2018). Literature on Organizational Innovation: Past and Future. Innovation and Management Review. Vol. 15 No. 1, pp. 2-19.
Konst (e. Penttilä), T. and Kairisto-Mertanen, L. (2020). Developing Innovation Pedagogy Approach. On the Horizon. Vol. 28 No. 1, pp. 45-54.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ และดรุณี ปัญจรัตนากร. (2563). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการ และเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2. 1-2 กุมภาพันธ์ 2563.
Zainal, M.A. and Matore, M.E.E.M. (2019). Factors Influencing Teachers’ Innovative Behaviour: A Systematic Review. Creative Education. Vol. 10, pp. 2869-2886.
Reetu, Yadav, A. and Redhu, K. (2020). Organizational Climate and Organizational Effectiveness Relationship: Mediating Role of Job Satisfaction. International Journal of Advanced Science and Technology. Vol. 29 No. 4s, pp. 2970-2982.
Fernandez, A.A. and Shaw, G.P. (2020). Academic Leadership in a Time of Crisis: The Coronavirus and COVID-19. Journal of Leadership Studies. Vol. 14 No. 1, pp. 39-45.
Sirakaya, Mustafa & Cakmak, Ebru Kilic, (2018). Effects of Augmented Reality on Student Achievement and Self-Efficacy in Vocational Education and Training. International Journal for Research in Vocational Education and Training (IJRVET). European Educational Research Association. Vol. 5 No. 1, pp. 1-18.
Da'as, R., Watted, A. and Barak, M. (2020). Teacher's Withdrawal Behavior: Examining the Impact of Principals' Innovative Behavior and Climate of Organizational Learning. International Journal of Educational Management. Vol. 34 No. 8, pp. 1339-1355.