การประยุกต์อินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งมาสร้างหุ่นยนต์พื้นฐาน ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนโดยอาศัยสัญญาณบูลทูธเพื่อศึกษาการทำงานและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

Main Article Content

ธนพล แก้วคำแจ้ง
ธรีะพงษ์ จันตะเสน
สุพรรณ ประทุมชัย
วิทยา บุตรโยธี
วกร สีสัมฤทธ์ิ

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วรวมถึงมี การนำ Internet of Things (IoT) มาเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เปิดโอกาสให้มีการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายกว้างขวางมากยิ่งขึ้นและเพิ่มพูนทักษะของนักเรียนนักศึกษาให้มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี ผ่านการเรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์เพื่อศึกษาการทำงานและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ด้วยวิธีการเรียนรู้ที่แก้ไขปัญหาหลักการทำงานของระบบควบคุมหุ่นยนต์พื้นฐานให้ทำภาระกิจอย่างง่ายที่สามารถสร้างขึ้นด้วยวัสดุราคาประหยัด และเชื่อมต่อสัญญาณควบคุมด้วยสัญญาณบูลทูธ เป็นการประยุกต์ใช้แทนสัญญาณอินเตอร์เน็ต จากการวิจัยพบว่าเชื่อมต่อระหว่างหุ่นยนต์กับโทรศัพท์สมาร์โฟนด้วยสัญญาณบูลทูธ สามารถเชื่อมต่อกันได้คิดเป็นร้อยละ 80 และสามารถควบคุมการบังคับหุ่นยนต์พื้นฐานในระยะ 1 เมตร ถึง 10 เมตร ได้ไกลสูงสุด 8 เมตร สรุปได้ว่าการประยุกต์อินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งมาสร้างหุ่นยนต์พื้นฐาน ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนโดยอาศัยสัญญาณบูลทูธเพื่อศึกษาการทำงานและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนสามารถทำงานได้ด้วยสัญญาณบูลทูธร่วมกับวัสดุต้นทุนต่ำในการสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถหาได้จากตลาดทั่วไป มีผลความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1) การประยุกต์อินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งมาสร้างหุ่นยนต์พื้นฐาน ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนโดยอาศัยสัญญาณบูลทูธ   2) ด้านการเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน 3) ในการทดสอบการเชื่อมต่อสัญญาณบูลทูธ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตย์ษุพัช สารนอก, ณมน จีรังสุวรรณ (2562). การออกแบบรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟธิง ร่วมกับ การเรียนรู้จากคลาวด์ คอมพิวติ้งเพื่อเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา.วารสารเทคโนโลยีภาคใต้: ปีที่ 12 ฉบับที่ 1.

จิราพร ช่อมณี, ปัทมา วุฒิสมัย, ภัทราวดี พันธุ์ทอง, ภัทราภรณ์ เสือแก้ว และศุภกร กตาธิการกุล, (2563). การพัฒนาอุปกรณ์เพื่อศึกษาค่าความร้อนของปฏิกิริยาด้วยตัวตรวจวัด อุณหภูมิแบบดิจิดอลพร้อมโปรแกรมแสดงผลอัตโนมัติ ด้วย IoT บน Smartphone สำหรับห้องปฏิบัติการเคมี.วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ: ปี ที่ 23 ฉบับที่ 3.

ชินวัจน์ งามวรรณากร, สุทัศน์ รุ่งระวิวรรณ, และ อมรเทพ มณีเนียม, (2561). การพัฒนาระบบควบคุมอุปกรณ์ภายในโรงงานขนาดย่อมด้วยเทคโนโลยีไร้สายผ่าน แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ภายใต้แนวคิดอินเทอร์เน็ตสำหรับทุกสรรพสิ่ง.

มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา: ปีงบประมาณ 2561.

ช่อทิพย์ สิทธิ, (2559). การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบใช้สายและไร้สายแบบใดเหมาะกับการใช้งาน.บทความทางด้านเทคโน-โลยีสารสนเทศ: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ชัชชติภัช เดชจิรมณี, ถนอมศักดิ์ สุวรรณน้อย, ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ, กอบกูล จันทรโคลิกา, และ ธาตรี จันทรโคลิกา, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) สำหรับบ้านพักอาศัย. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม: ปีที่ 12 ฉบับที่ 3.

ชัดชัย แก้วตา, ศุภาวีร์ มากดี, ขนิษฐา อินทะแสง, ธันญะลักษณ์ มากดี และอรรถพร วรรณทอง, (2563). การพัฒนาหลักสูตรอบรม เรื่อง การประยุกต์ใช้แพลตฟอร์ม IoT เพื่อสร้างนวัตกรรมดิจิทัลของผู้เรียน.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคม-ศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์: ปีที่ 22 ฉบับที่ 2.

ธนพล แก้วคำแจ้ง, 2564. การศึกษาและหาความพึงพอใจอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิที่ฝามือและพ่นแอลกอฮอล์อัตโนมัติด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์.วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา:สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ1 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ธนพล แก้วคำแจ้ง, 2564. การศึกษาและหาความพึงพอใจอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิที่ฝามือและพ่นแอลกอฮอล์อัตโนมัติด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์.วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา:สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ1 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ธนพล แก้วคำแจ้ง, วกร สีสัมฤทธิ์, ปริญญา โพธิหล้า, และ พนมเดช นพอาจ, (2564). อุปกรณ์วงจรบูทแรงดันไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าตรงเพื่อให้แรงดันไฟฟ้าที่อินเวอร์เตอร์ขับมอเตอร์.วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา:สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ1 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ธนพล แก้วคำแจ้ง, 2563. การศึกษาความพึงพอใจไม้เท้าของผู้สูงวัยแจ้งเตือนผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์.วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา:สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ1 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ธนพล แก้วคำแจ้ง, 2563. การศึกษาความพึงพอใจต่อมือกลแขนกลเพื่อคนพิการสั่งงานด้วยเสียง.วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา:สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ1 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ณัฐชัย กัดไธสง, และ ณัฐพงศ์ พลสยม, (2559). การควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อผ่านการสื่อสารไร้สาย วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1.

มณีรัตน์ ภารนันท์, (2564). การศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับตลาดน้ำ 4.0 ชุมชนน้ำบางน้ำผึ้ง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มทร.สุวรรณภูมิ: ปีที่ 6 ฉบับที่ 2.

รุจกา สถิรางกูร, การพัฒนาระบบการตรวจสอบการเข้าเรียนโดยใช้ IoT และ RFID. (2564). วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม: ปีที่ 8 ฉบับที่ 2.

รุจกา สถิรางกูร, พัลลภา มิตรสงเคราะห์, และ อำนวย วิชญะลาส. (2563). การออกแบบสภาพแวดล้อมแบบสมาร์ทเลิร์นนิ่งโดยใช้อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อรรถพล อิ่มวิไลวรรณ, (2563). พฤติกรรมและปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตในสถานศึกษา ในยุค Internet of Things (IOT).

วารสารมหาจุฬาวิชาการ: ปีที่ 7 ฉบับที่ 3.

เศรษฐกาล โปร่งนุช, อภิรักษ์ ธิตินฤมิต, กฤษกร อินต๊ะวิชัย ชนมภัทร, โตระสะ และ นารีนาถ รักสุนทร, (2564). หุ่นยนต์เคลื่อนที่เพื่อการศึกษาและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง.

ENGINEERING TRANSACTIONS: ปีที่. 24 ฉบับ 2.

วิทวัส คล้ายนิล. (2551). การควบคุมหุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้ป่วยระยะไกลผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย. สาขาวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Ranger, S. (ม.ป.ป.). What is the IoT? Everything you need to know about the Internet of Things right now. สืบค้นจาก https://www.zdnet.com/article/what-is-the-internet-of-things-everything-you-need-to-know-aboutthe-iot-right-now/