บอร์ดประชาสัมพันธ์อัจฉริยะ

Main Article Content

พิพัฒน์ ดุรงค์ดํารงชัย
อนุชา ดีผาง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ นำเสนอการออกแบบและสร้างบอร์ดประชาสัมพันธ์อัจฉริยะที่มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสร้างบอร์ดประชาสัมพันธ์ให้มีความทันสมัยและมีฟังก์ชันเพิ่มมากขึ้นกว่าบอร์ดประชาสัมพันธ์ทั่วไป โดยบอร์ดประชาสัมพันธ์อัจฉริยะที่นำเสนอนี้ สามารถแจ้งเตือนการเกิดเพลิงไหม้แบบอัตโนมัติด้วยสัญญาณกระดิ่ง โดยจะรับรู้การเกิดควันได้จากอุปกรณ์ตรวจจับควัน มีโคมฉายหลอดแอลอีดีติดตั้งอยู่กับตัวบอร์ดประชาสัมพันธ์อัจฉริยะ สำหรับการให้ความส่องสว่างที่บริเวณบอร์ดประชาสัมพันธ์ นอกจากนั้น ยังมีหลอดไฟแอลอีดีแบบเปลี่ยนสีได้ติดอยู่รอบตัวบอร์ดประชาสัมพันธ์อัจฉริยะ เพื่อประดับให้เกิดความสวยงามและมีความโดดเด่น ทั้งโคมฉายหลอดแอลอีดี และหลอดไฟแอลอีดีแบบเปลี่ยนสีได้นี้ สามารถทำการเปิดปิดได้แบบอัตโนมัติ เมื่อมีผู้คนเดินมาเข้าใกล้บอร์ดประชาสัมพันธ์ในระยะที่กำหนด ซึ่งสามารถรับรู้ได้จากอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหว โดยการดำเนินงานทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นตัวประมวลผล ทั้งการรับสัญญาณมาประมวลผล และการสั่งการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้ ที่บอร์ดประชาสัมพันธ์อัจฉริยะยังมีการติดตั้งแท็ปเล็ตขนาดจอ 10.1 นิ้ว เพื่อการแสดงข้อความที่ต้องการประชาสัมพันธ์แบบไฟล์ข้อมูลได้อีกด้วย ผลการทดสอบการดำเนินงานของบอร์ดประชาสัมพันธ์อัจฉริยะปรากฏว่า บอร์ดประชาสัมพันธ์อัจฉริยะสามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ นั้นคือ โคมฉายหลอดแอลอีดี และหลอดไฟแอลอีดีแบบเปลี่ยนสีสามารถทำการเปิดได้แบบอัตโนมัติ เมื่อมีผู้คนเดินมาเข้าใกล้บอร์ดประชาสัมพันธ์ สามารถทำการปิดได้แบบอัตโนมัติ เมื่อไม่มีผู้คนอยู่ใกล้บอร์ดประชาสัมพันธ์อัจฉริยะ และบอร์ดประชาสัมพันธ์อัจฉริยะสามารถแจ้งเตือนการเกิดเพลิงไหม้แบบอัตโนมัติด้วยสัญญาณกระดิ่ง เมื่อตรวจจับควันในบริเวณใกล้เคียงบอร์ดประชาสัมพันธ์อัจฉริยะ ส่วนแท็ปเล็ตก็สามารถแสดงข้อมูลได้หลากหลาย จึงสามารถสรุปได้ว่า บอร์ดประชาสัมพันธ์อัจฉริยะสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

G.V.Surya bharat, G.V.B.Swamy,Y.Sri Sesha Sai and A.S.S.V.J.Krishna Vamsi, “Detection of Gas and alert by Using Arduino UNO & MQ2 Sensor” Pramana Research Journal, 9, 2019, pp.993-996.

Brawner Brian L. Heyasa, and Van Ryan Kristopher R. Galarpe, “Initial Development and Testing of Microcontroller-MQ2 Gas Sensorfor University Air Quality Monitoring” IOSR Journal of Electrical and Electronics Engineering (IOSR-JEEE), 12, 2017, pp.47-53.

Pema Chodon, Devi Maya Adhikari, Gopal Chandra Nepal, Rajen Biswa, Sangay Gyeltshen and Chencho, “Passive Infrared (PIR) Sensor Based Security System” International Journal of Electrical, Electronics and Computer Systems, 14, 2013, pp.1-6.

เกศศักดิ์ดา ศรีโคตร และ วรางคณา เหนือคูเมือง, “การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ตัวตรวจจับทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรบระบบแจ้งเตือนเด็กติดค้างในรถยนต์” วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ, ปีที่ 11, ฉบับที่ 1, พ.ศ. 2560, หน้า 34-39.

กมลณิตย์ ภู่สรม, สุธี โสมาเกตุ, ชัยยุทธ บรมสุข และ ณิชาพัชร์ วัชรปรีชา, “ระบบตรวจจับความเคลื่อนไหวกรณีมีผู้บุกรุกพื้นที่ส่วนบุคคล และแจ้งเตือนผ่านสมาร์ท โฟน” การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 8, พ.ศ. 2563, หน้า 1971-1980.

มุหัมมัด มั่นศรัทธา, มูฆอฟฟัล มูดอ, อับดุลเลาะ สะนอยานยา และ ซุลกีฟลี กะเด็ง, “ระบบเปิดปิดไฟอัตโนมัติภายในห้องน้ำาโดยใช้โครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย ESP8266/Node MCU” วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, ปีที่ 9, ฉบับที่ 2, พ.ศ. 2560, หน้า 73-82.

Vasudev Yadav, Akhilesh Shukla, Sofiya Bandra, Vipin Kumar, Ubais Ansari and Suraj Khanna, “A Review on Microcontroller based LPG Gas Leakage Detector” Journal of VLSI Design and Signal Processing, 2, 2016, pp.1-10.

ชมพู ทรัพย์ปทุมสิน, เอกราช ตากกระโทก, กฤษฎา วิไลลักษณ์ และ สุรีพร มีหอม, “เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติควบคุมการทำงาน ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์” วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, ปีที่ 35, ฉบับที่ 1, พ.ศ. 2565, หน้า 103-117.

สุประวิทย์ เมืองเจริญ, “การสร้างและออกแบบหุ่นยนต์ ABU 2018 “ลูกช่วงมังกรบิน”” วารสารวิชาการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ, ปีที่ 2, ฉบับที่ 4, พ.ศ.2563, หน้า 62-69.

Akinwumi S. A, Ezenwosu A. C, Omotosho T. V, Adewoyin O. O, Adagunodo T. A and Oyeyemi K. D, “Arduino Based Security System using Passive Infrared (PIR) Motion Sensor” International Conference on Science and Sustainable Development, 4, 2020, pp.1-5.